บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและ 3) ประเมินแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 381 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 95 คน และครูผู้สอน จำนวน 286 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การร่างแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล ขั้นตอนที่ 3 การประเมินร่างแนวทางโดยการประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินร่างแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล และระยะที่ 3 การประเมินแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามีสภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 3 ลำดับแรกคือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล
2. แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ชื่อของแนวทาง 2) หลักการของแนวทาง 3) วัตถุประสงค์ของของแนวทาง 4) องค์ประกอบของแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) การสื่อสารดิจิทัล 2) การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล 3) การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล และ 4) การรู้และทักษะดิจิทัล รวมทั้งสิ้น 12 วิธีดำเนินการ 12 ขั้นตอนการปฏิบัติและ 12 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
3. ผลการประเมินแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเป็นไปได้
Abstract
The objectives of this research were 1) to study current conditions, desirable conditions and priority needs indexes of digital leadership of school administrators, 2) To study the guidelines for digital leadership of school administrators, and 3) To assess the guidelines for digital leadership of school administrators. The method of conducting the research is divided into 3 phases. Phase 1: To study the current conditions, desirable conditions and priority needs indexes of digital leadership. The sample was 381 consisted of 95 school administrators and 286 of teachers by using Krejcie & Morgan's sample size criteria and stratified random sampling. The questionnaire was applied for data gathering. Phase 2: To study the guidelines for digital leadership enhancing model. There are 2 steps: Step 1: The multi-case study using a semi-structured interview method. The target group is 3 educational administrators. Step 2: Assessment of the draft guideline by a multi attribute consensus reaching (MACR) by 9 experts. The tools used were assessment forms and Phase 3: Assessment of the guidelines for digital leadership enhancing by 5 experts. The tools used were assessment forms. The statistics used to analyze quantitative data by determining frequency, percentage, mean, standard deviation, and the modified priority needs index. The qualitative data analysis by descriptive analysis.
The research findings were as follows:
1. Guidelines for digital leadership enhancing of school administrators. The overall of the current conditions has a high level. The overall of the desirable conditions has a highest level and the modified priority needs index for digital leadership enhancing was 1) digital communication 2) digital vision and 3) digital culture creation.
2. The Digital Leadership Enhancing Approach consists of 1) the name of the Approach, 2) the Principles of the Approach, 3) the objectives of the Approach, 4) the components of the Digital Leadership Enhancement Approach, consisting of 4 aspects: 1) Digital Communication, 2) Digital Vision, 3) Digital Culture Building, and 4) Digital Leadership Enhancement Guidelines. Digital literacy and skills include 12 approaches, 12 methods of action and 12 conditions of success.
3. The overall assessment results of guidelines for digital leadership enhancing of school administrators were the highest. The order from the highest average to the lowest average, Propriety, Utility and Feasibility.
คำสำคัญ
แนวทางการเสริมสร้าง, ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความต้องการจำเป็น.Keyword
Guidelines For Enhancing, Digital Leadership, School Administrators, Priority Need Indexesกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 2,632
เมื่อวานนี้: 2,291
จำนวนครั้งการเข้าชม: 459,459
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093