...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 260-271
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 8
Download: 2
Download PDF
ภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
Teacher Leadership Affecting the Effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students in The Secondary Educational Service Office Area Kalasin
ผู้แต่ง
ธนูศิลป์ กั้วนามน, วัฒนา สุวรรณไตรย์, วรกัญญาพิไล แกระหัน
Author
Tanoosin Kuanamon, Watana Suwannatrai, Worakanyapilai Kaerahan

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 330 คน ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับตามวิธีของเรนซิสไลเคอร์ท (Rensis Likert Method) มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.592 - 0.886 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.963 แบบสอบถามประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.364 - 0.872 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.963 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F - test ชนิด (One - Way ANOVA) การหาค่าความสัมพันธ์อย่างง่ายของงเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
2. ประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำครู จําแนกตามสถานภาพ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน จำแนกตามสถานภาพ และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 
5. ภาวะผู้นำครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (rxy = .488)
6. ภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน จำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ (X3) และด้านการใช้เทคโนโลยี (X5) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน X4) โดยสามารถรวมกันพยากรณ์ร้อยละ เท่ากับ 50.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.30929 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = .431 (Z3) + .230 (Z5) + .139 (Z4)
7. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ด้านการมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรมีการศึกษาดูงาน มีการอบรมเชิงปฏิบัติการสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ครูผู้สอนต้องติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน และผู้บริหารต้องส่งเสริมให้ครูนำเสนอพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการใช้เทคโนโลยี ควรมีการศึกษา มีการอบรมเชิงปฏิบัติการสัมมนา ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของครู ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน มีการประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของครู

Abstract

The purposes of this research were to examine, examine the level of effectiveness in developing 21st-century skills among students, compare teacher leadership, and compare the effectiveness of developing 21st-century skills among students. Additionally, to determine the relationship between teacher leadership and the effectiveness of developing 21st-century skills among students and to identify the predictive power of teacher leadership that influences the effectiveness of developing 21st-century skills among students in The Secondary Educational Service Office Area Kalasin. The sample size which consisting of school administrators, academic heads, and teachers, in the academic year 2023. The tools for data collection were two sets of five - point scale questionnaires, comprising a set of questionnaires on administrators’ instructional leadership with the discriminative values ranging from 0.592 to 0.886 and the reliability of 0.963, a set of questionnaires on The Effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students with the discriminative values ranging from 0.364 to 0.872 and the reliability of 0.963, and a structured interview form examining the guidelines for developing Teacher Leadership Affecting The Effectiveness of the 21st Century  Skill Development of Students in  The Secondary Educational Service Office Area Kalasin. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test Independent Samples, One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. Teacher leadership was overall at a high level.
2. The Effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students was overall at a high level.
3. Teacher leadership classified by school size and work experience overall and each aspect was found with statistical significant difference at the .01 level.
4. The Effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students classified by status, the sizes of the schools found that both overall and each aspect were significantly different at the .01 level, classified by work experience, overall and each aspect, no different.
5. Teacher leadership and Effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students had a positive relationship at the .01 level of significance with the medium level (rxy = .488).
6. Teacher leadership that affect the effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students that could predict the effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students, as a whole, with statistical significance at the .01 level, namely, the were ability in learning management (X3), using technology (X5), were statistically significant at the .05 level. Focusing on developing student achievement (X4), the predictive power of the aforementioned variables was 50.10 percent with a standard error estimate of ±.30929. The predictive equation could be written in form of standard as
7. Guidelines for developing teacher leadership that affect the effectiveness of the 21st Century Skill Development of Students. In terms of having the ability to manage learning, teachers should join the study tours, attend workshops and seminars on professional development. In terms of focusing on developing student achievement, teachers must be good role models for students. Teachers' potential in innovation and technology should be assessed.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำครู, ประสิทธิผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

Keyword

Teacher Leadership, Effectiveness of the 21st Century Skill Development

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093