บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 322 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 57 คน หัวหน้างานวิชาการ 57 คน และครูผู้สอน จำนวน 208 คน จากโรงเรียน 57 โรงเรียน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.460 – 0.815 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.804 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.439 – 0.725 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.839 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าเอฟ (F - test) ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิอย่างง่าย (Pearson’s Product -Moment Correlation Coefficient) และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. เปรียบเทียบปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน
4. เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การปฏิบัติงาน
ไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวม พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (rxy = 0.753) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 6 ด้าน พบว่า มีจำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านผู้ปกครองและชุมชน ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร และด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 61.4 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .18214
Abstract
The purposes of this research were to 1) examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing the administrative factors affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3, The research sample, obtained through multi-stage random sampling, comprised 322 participants, including 57 school administrators, 57 heads of academic divisions, and 208 teachers from 57 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3, during the 2022 academic year. The tools for data collection included a set of questionnaires on administrative factors of school administrators, with discriminative power values from 0.460 to 0.815 and the reliability of 0.804. The other set of questionnaires was on the effectiveness of academic affairs administration in schools, with the discriminative power values between 0.439 and 0.725 and the reliability of 0.839. Data analysis statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, One - Way ANOVA
F - test, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The administrative factors of school administrators were overall at a high level.
2. The effectiveness of academic affairs administration in schools was overall at a high level.
3. The comparison of administrative factors among school administrators, classified by participants’ positions, showed differences at the .01 level of significance. However, there were no overall differences when considering school sizes and work experience.
4. The comparison of the effectiveness of academic affairs administration in schools, classified by participants’ positions, showed differences at the .01 level of significance. However, there were no overall differences in terms of school sizes, and work experience.
5. The administrative factors of school administrators and the effectiveness of academic affairs administration in schools demonstrated a positive relationship overall with a high level (rxy = 0.753) at the .01 level of significance.
6. The administrative factors of school administrators were analyzed, consisting of six aspects. Only four aspects could predict the effectiveness of academic affairs administration in schools at the .01 level of significance, namely Information Technology (IT), parents and community, organizational atmosphere and culture, and personnel and personnel development. These aspects were able to jointly predict the effectiveness of academic affairs administration in schools with 61.4 percent, and the standard error of estimate of ±.18214.
7. This research has presented guidelines for developing school administrative factors in four aspects: 1) Information Technology (IT): This includes securing budgets for procurement of updated IT usage, transferring knowledge about IT, and providing training and seminars for knowledge exchange; 2) Organizational Atmosphere and Culture. This involves fostering teamwork and unity, working together as supportive and friendly colleagues, holding meetings to clarify goals, and collaboratively creating a positive organizational culture; 3) Parents and Communities: This encompasses strategic planning, participating in setting strategies and directions, offering recommendations for educational management and administration, creating networks, building relationships, and supporting local wisdom; and 4) Personnel and Personnel development: This includes supporting training, seminars, study tours, and further higher education for personnel, as well as fostering morale and encouragement. Supervision, monitoring, reporting, and evaluation were also implemented.
คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Administrative Factors, Effectiveness of Academic Affairs Administrationกำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 1,102
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,595
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093