...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 217-227
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 7
Download: 2
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความสำเร็จในข้อตกลงในการพัฒนางานของครู ในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Relationship between Performance Motivation and Success in Performance Agreements of Teachers in Schools for the Deaf under the Northeast Special Education Bureau
ผู้แต่ง
ณัฐวุฒิ นัยจิต, ไชยา ภาวะบุตร, ปัทมา จันทพันธ์
Author
Natthawut Naiyajit, Chaiya Pawabutra, Pattama Chantapan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความสำเร็จในข้อตกลงในการพัฒนางานของครู ในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารและครู ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 138 คน จำแนกเป็นผู้บริหารจำนวน 18 คน และครูจำนวน 120 คน จากจำนวนโรงเรียนทั้งหมด 6 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.626 - 0.936 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.918 และแบบสอบถามความสำเร็จในข้อตกลงในการพัฒนางานของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.752 - 0.925 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.915 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 
1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ความสำเร็จในข้อตกลงในการพัฒนางานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามวิทยฐานะ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามวุฒิทางการศึกษาพิเศษ โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
4. การเปรียบเทียบความสำเร็จในข้อตกลงในการพัฒนางานของครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามวิทยฐานะ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามวุฒิทางการศึกษาพิเศษ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความสำเร็จในข้อตกลงในการพัฒนางานของครู
มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ rxy = 0.759
6. แนวทางพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความสำเร็จในข้อตกลงในการพัฒนางานของครู คือ 1) ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 2) ควรให้กำลังใจในการปฏิบัติงานทุกคนด้วยความจริงใจ 3) ควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนให้ครูจัดการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ควรสนับสนุนให้ศึกษาต่อ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน

Abstract

The purposes of this research were to compare and examine the relationship between performance motivation and the success of performance agreement (PA) of teachers in schools for the Deaf under the Northeast Special Education Bureau. The research sample consisted of 138 participants, including 18 administrators and 120 teachers from six schools in the academic year 2023. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table and simple random sampling. The data collection tools included interview forms and 5 - point scale questionnaires, comprising performance motivation with discriminative values from 0.626 to 0.936 and the reliability of 0.918, and the success in PA of teachers with discriminative values from 0.752 to 0.925 and the reliability of 0.915. Data analysis statistics were percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t - test, One - Way ANOVA, and Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient.
The findings were as follows:
1. The performance motivation was overall at a high level.
2. The success in PA of teachers was overall at the highest level.
3. The performance motivation, classified by positions, and academic standing, showed overall differences at the .01 level of significance. When considering special academic qualifications, no significant differences were observed overall or in each aspect.  
4. The success in PA of teachers, classified by positions, overall, showed differences at the .01 level of significance. Regarding academic standing, there were no differences overall or in each aspect. In terms of special education qualifications, overall, there were differences at the .05 level of significance.
5. The relationship between performance motivation and the success in PA of teachers was positively correlated at a high level at the .01 level of significance, with the correlation coefficient of rxy = .759.
6. The guidelines for developing performance motivation and achieving success in PA of teachers involved four aspects: 1) supporting and encouraging all teachers to consistently perform their assigned duties; 2) providing moral support to facilitate job performance for all teachers; 3) supplying facilities to enhance teachers’ effectiveness in instructional management; and 4) supporting ongoing education to foster of knowledge and teaching skills.
 

คำสำคัญ

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ความสำเร็จข้อตกลงในการพัฒนางานของครู

Keyword

Performance Motivation, Success in Performance Agreement of Teachers

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093