บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ศึกษาความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 175 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 23 คน และครูผู้สอน จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบค่าเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index; PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. ความต้องการจำเป็นและลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการกำหนดมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษา (PNImodified = 0.064) รองลงมา คือ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (PNImodified = 0.056) ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา (PNImodified = 0.045) ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา (PNImodified = 0.037) ด้านการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (PNImodified = 0.035) และด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (PNImodified = 0.034) ตามลำดับ
4. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ควรสนับสนุนให้ครู บุคลากรทุกคน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา 2) ด้านการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรสนับสนุนให้ครู บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ 3) ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครู บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้จัดขึ้น
Abstract
The purposes of this research were to examine and compare current and desirable conditions for internal quality assurance operations at Welfare Schools, to investigate the needs and prioritize them regarding internal quality assurance operations at Welfare Schools, and to establish guidelines for developing internal quality assurance operations at Welfare Schools based on the needs in the Education Institution Groups under the Special Education Bureau, Group 3. The sample consisted of 175 participants, including 23 school administrators and 152 teachers in the Welfare Schools in the Education Institution Groups under the Special Education Bureau, Group 3, in the 2023 academic year. The data collection instrument was a set of questionnaires on current and desirable conditions regarding internal quality assurance operations at Welfare Schools, with the reliability of 0.98, and the interview forms examining guidelines for developing internal quality assurance operations at Welfare Schools. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t - test for Independent Samples, F – test (One – Way ANOVA), and Modified Priority Needs Index (PNImodified).
The findings were as follows:
1. The current condition for internal quality assurance operations at Welfare Schools was overall at a high level, while the desirable condition for internal quality assurance operations at Welfare Schools was overall at the highest level.
2. The current and desirable conditions for internal quality assurance operations at Welfare Schools, classified by participants’ positions, showed significant overall differences at the .01 level. Regarding work experience, the current conditions showed overall differences at the .05 level of significance. However, for desirable conditions, overall there were no significant differences based on work experience.
3. Needs and prioritization concerning internal quality assurance operations at Welfare Schools indicated that the highest priority aspect was the establishment of educational standards for educational institutions (PNImodified = 0.064), followed by the formulation of educational quality improvement plans (PNImodified = 0.056), operations aligned with the educational development plans (PNImodified = 0.045), assessment and inspection of educational quality (PNImodified = 0.037), monitoring performance to enhance educational quality (PNImodified = 0.035), and preparation of self-assessment reports (PNImodified = 0.034), respectively.
4. The proposed guidelines for internal quality assurance operations at Welfare Schools consisted of three aspects: 1) Establishment of Educational Standards for Educational Institutions involves supporting teachers, all personnel, and other stakeholders to participate in formulating educational standards; 2) Formulation of Educational Quality Development Plans involves supporting teachers, all personnel, and other stakeholders to participate in preparing the educational quality development plans; and 3) Operations aligned with the educational development plans involves supporting teachers, all personnel, and other stakeholders to participate in evaluating and measuring various activities operations organized by schools.
คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น, การประกันคุณภาพภายใน, โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์Keyword
Needs, Internal Quality Assurance, Welfare Schools.กำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 1,086
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,579
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093