บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและ 3) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและยืนยันองค์ประกอบ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้ประเด็นเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ผู้ทรงคุณวุฒิจำแนก 12 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตอนที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 386 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 104 คน และครูผู้สอน จำนวน 282 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.40 – 0.83 และได้ค่าความมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีองค์ประกอบหลัก 5 และองค์ประกอบย่อย 18 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย 1) การรับฟัง 2) การสื่อสารโดยการใช้เทคโนโลยี 3) ความชัดเจนในการสื่อสาร และ4) การให้ข้อเสนอแนะองค์ประกอบที่ 2 ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) ความคิดริเริ่ม 2) ความคิดยืดหยุ่น 3) ความคิดคล่องแคล่ว และ 4) ความคิดละเอียดลออ องค์ประกอบที่ 3 ทักษะวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย 1) การสร้างวิสัยทัศน์ 2) การสื่อสารวิสัยทัศน์ และ 3) การสร้างแรงบันดาลใจ องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการสร้างทีมงาน ประกอบด้วย 1) ทักษะการมีส่วนร่วม 2) ทักษะการจัดระบบและโครงสร้างในทีม 3) ทักษะการตั้งเป้าหมาย และ 4) ทักษะการจัดการความขัดแย้ง องค์ประกอบ ที่ 5 ทักษะการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1) การคิดเชิงวิเคราะห์ 2) การร่วมมือกัน และ 3) การตัดสินใจ
2. ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ทักษะการสื่อสาร รองลงมา คือ ทักษะการสร้างทีมงาน ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะวิสัยทัศน์ และทักษะการแก้ปัญหา ตามลำดับ
3. การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้ค่าวัดความสอดคล้อง คือ χ2 = 31.453, (χ2/df) = 1.015, df = 31, p-value = 0.444, TLI = 1.000, CFI = 1.000, RMSEA = 0.006 และ SRMR = 0.009 โดยมีค่าของน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ และมีค่าอยู่ระหว่าง 0.45 ถึง 1.06 เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ ทักษะการสร้างทีมงาน (1.06) ทักษะวิสัยทัศน์ (0.90) ทักษะการแก้ปัญหา (0.48) ทักษะการสื่อสาร (0.46) และทักษะความคิดสร้างสรรค์ (0.45)
Abstract
The purposes of this research were to: 1) examine the components of school administrators’ leadership skills, 2) investigate school administrators’ leadership skills and 3) analyze the confirmatory factor analysis of school administrators’ leadership skills under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office Area 2. This research was divided into two steps: Step 1 involved examining and confirming the components of school administrators’ leadership skills by interviewing 12 scholars selected through purposive sampling. This process aimed to obtain key components and sub-components of school administrators’ leadership skills under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The collected data was analyzed using content analysis. Step 2 utilized a sample of 386 participants, comprising 104 school administrators and 282 teachers from schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, in the academic year 2023. Participants were selected through multi - stage random sampling. The research instrument consisted of a set of questionnaires using a 5 - level rating scale, with the discriminative power ranging from 0.40 to 0.83 and the reliability of 0.97. The descriptive and reference statistics were calculated using the statistical software packages for basic statistical analysis and confirmatory factor analysis.
The research results found that:
1. The components of school administrators’ leadership skills consisted of five key components and 18 sub-components as follows: Component 1: Communication Skills included 1) listening, 2) utilizing technology for communication purposes, 3) clear communication, and 4) providing suggestions; Component 2: Creative Thinking Skills comprised 1) Originality, 2) Flexibility, 3) Fluency, and 4) Elaboration; Component 3 Vision Skills included 1) creating visions, 2) communicating visions, and 3) inspiring others. Component 4 Team Building Skills involved
1) participation skills, 2) team system and structure skills, 3) goal setting skills, and 4) conflict management skills; Component 5 Problem - Solving Skills comprised 1) analytical thinking, 2) collaboration, and 3) decision-making.
2. The school administrators’ leadership skills were overall at the highest level. When considering each component, the component with the highest mean value was communication skills (4.60), followed by team building skills (4.56), creative thinking skills (4.50), vision skills (4.50), and problem-solving skills (4.48), respectively.
3. The school administrators' leadership skills were consistent with the empirical data as demonstrated by the following fit measures: χ2 = 31.453, (χ2/df) = 1.015, df = 31, p-value = 0.444, TLI = 1.000, CFI = 1.000, RMSEA = 0.006 and SRMR = 0.009. The value of the component weights was positive at the .01 level of significance of all components, with values between 0.45 and 1.06, ranking from high to low values as follows: team-building skills (1.06), vision skills (0.90), problem-solving skills (0.48), communication skills (0.46), and creative thinking skills. (0.45).
คำสำคัญ
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ทักษะภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
Factor Analysis, Leadership Skills, School Administratorsกำลังออนไลน์: 46
วันนี้: 2,509
เมื่อวานนี้: 2,291
จำนวนครั้งการเข้าชม: 459,336
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093