บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2566 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ จำนวน 334 คน แต่ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 352 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 114 คน และครูผู้สอน จำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพและแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน
5. คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพโดยรวม (X) และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโดยรวม (Y) พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (rXY = 0.86) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016. คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน (Y) มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านทักษะการบริหารจัดการ ด้านภาวะผู้นำ และด้านคุณธรรม จริยธรรม มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนได้ร้อยละ 77 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.17
Abstract
This research were a simple regression research. The purpose of this research were to study, compare, find relationships, find predictive power, and find guidelines for developing professional executive characteristics that affect the effectiveness of educational administration under the Office of the Udon Thani Primary Educational Service Area 3. The sample group used in this research includes educational administrators and teachers in schools under the Office of the Udon Thani Primary Educational Service Area 3 for the 2023 academic year. The sample size was determined using the sample size determination table of Krejcie & Morgan, resulting in a minimum sample size of 334 people. However, this research used a sample size of 352 people, consisting of 114 administrators and 238 teachers. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire, including a questionnaire on professional executive characteristics with a discriminant value between .474 - .913 and a reliability value of .979, and a questionnaire on the effectiveness of school administration with a discriminant value between .589 - .792 and a reliability value of .974. The statistics used to analyze the data include frequency, percentage, mean, standard deviation, and t - test.
The findings were as follows:
1. The overall professional leadership characteristics were at the highest level.
2. The overall school administration effectiveness was at the highest level.
3. The professional leadership characteristics classified by position status, school size were not different, while classified by work experience were statistically significantly different at the .05 level.
4. The school administration effectiveness classified by position status, work experience and school size were not different.
5. The overall professional leadership characteristics (X) and the overall school administration effectiveness (Y) were highly positively correlated (rXY = .86) at the .01 level of statistical significance.
6. There were 4 aspects of professional leadership characteristics that could predict school administration effectiveness (Y)-vision, management skills, leadership, and virtues & ethics-which were statistically significant at the .01 level. Together they could predict 77% of the variance in school administration effectiveness, with a standard error of estimate of ± 0.17.
คำสำคัญ
คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนKeyword
Characteristics of Professional Administrators, Effectiveness of School Administrationกำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 1,106
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,599
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093