บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความต้องการจำเป็น เปรียบเทียบ สภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2565 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 324 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test ชนิด Independent Samples แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สภาพปัจจุบัน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สภาพที่พึงประสงค์จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน และ 3) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน
4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล กำหนดแผนงานดิจิทัล สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แรงจูงใจให้บุคลากร ครู เป็นแบบอย่างในการถ่ายทอดค่านิยมดิจิทัล ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานำไปสู่เป้าหมายที่มีคุณภาพ 2) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารโรงเรียนกำหนดเป็นนโยบาย สนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ สร้างระบบดิจิทัลของโรงเรียน พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสื่อ สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์อย่างเพียงพอเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และ 3) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน ผู้บริหารโรงเรียน กำหนดเป็นนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงานของทุกฝ่ายงานการบริหารอย่างเป็นระบบ สามารถใช้และนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในกระบวนการทำงานได้ถูกต้อง พร้อมทั้งสนับสนุนครูและบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล กำหนดแผนงานดิจิทัล สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แรงจูงใจให้บุคลากร ครู เป็นแบบอย่างในการถ่ายทอดค่านิยมดิจิทัล ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานำไปสู่เป้าหมายที่มีคุณภาพ 2) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารโรงเรียนกำหนดเป็นนโยบาย สนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ สร้างระบบดิจิทัลของโรงเรียน พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสื่อ สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์อย่างเพียงพอเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และ 3) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน ผู้บริหารโรงเรียน กำหนดเป็นนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงานของทุกฝ่ายงานการบริหารอย่างเป็นระบบ สามารถใช้และนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในกระบวนการทำงานได้ถูกต้อง พร้อมทั้งสนับสนุนครูและบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
The purposes of this research were: To study the level of need for, to study the current and desirable conditions, to compare current and desirable conditions, and to find guidelines to develop digital leadership among school administrators. The population consisted of school administrators and teachers under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, in the Academic Year 2022. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan Table, resulting in a sample size of 324 people using a multiple - stage random sampling method. Research tool was a questionnaire. Data analysis includes frequency, percentage, mean, standard deviation, hypothesis testing using T - test, Independent Samples t-test, and One -Way ANOVA and the index of essential needs (PNImodified).
The findings were as follows:
1. Current and desirable conditions of digital leadership of school administrators were found that the current condition was overall at a high level. As for the desirable condition, was overall at the highest level.
2. Current and desirable conditions of digital leadership of school administrators Current conditions Classification by position status Overall and individual There is no difference in the classification by size of the school as a whole. There was a statistically significant difference at the .01 level, and the classification by work experience, overall and individually, was statistically significant at the .01 level. There was a statistically significant difference at the .01 level, and there was no difference in classification by school size. When considering digital literacy and comprehension, there was a statistically significant difference of .01 and classification based on overall operational experience. There was no difference. When considering digital literacy and literacy was found a statistically significant difference at the .01 level.
3. The need to develop for digital leadership of school administrators, in descending order: 1) digital vision, 2) Supporting the use of digital technology in teaching and learning, and 3) Supporting the use of digital technology in administration.
4. Guidelines for developing digital leadership of school administrators in 3 areas as follows: 1) Visionary: School administrators have to have a digital vision, creating a learning exchange, motivating staffs and teachers to be role models for transmitting digital values in accordance with the context of educational institutions to lead for quality goals. 2) Supporting the use of technology in teaching and learning. School administrators set a policy to support the adoption of digital technology, to create the school's digital system, to develop personnel, to promote media innovation, and to adequately support budget and equipment for developing effective teaching and learning management. And 3) supporting the use of digital technology in management. School Administrators set a policy to systematically adopt digital technology in the work of all administrative departments. Digital technology can be used and used in the correct work process while supporting teachers and staffs in using digital technology to operate effectively.
คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น, ภาวะผู้นำดิจิทัลKeyword
Needs Assessment, Digital Leadershipกำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 23
เมื่อวานนี้: 2,850
จำนวนครั้งการเข้าชม: 404,901
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093