บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัลที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage Random Sampling) การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล
ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .982 และประสิทธิผลโรงเรียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทดสอบค่าที (t - test ชนิด One Samples และ Independent Samples) การวิเคราะห์ทดสอบค่าเอฟ (F - test) แบบการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาภาวะสมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัลที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลโรงเรียน ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล และประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. สมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัลกับประสิทธิผลโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (rXtYt = 0.526) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. สมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล ที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีมี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร และด้านการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ โดยมีอำนาจพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ 30.4
5. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล ได้แก่ 1) ด้านความรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีทักษะพื้นฐาน ความรู้ ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมและสนับสนุน ให้บุคลากรได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานและจัดการเรียนการสอน และเข้าร่วมอบรม สัมมนาทางด้านเทคโนโลยี และ 2) ด้านการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยม ก้าวทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง เชี่ยวชาญ ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และจัดสภาพแวดล้อม อํานวยความสะดวกทางเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรและนักเรียน
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and analyze the predictive relationship, and to establish guidelines for developing competencies of administrators in the digital era that served as significant predictors of the school effectiveness under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in the 2023 academic year. The research sample comprised 346 personnel working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, obtained through multi-stage random sampling. This research was divided into two parts: Part 1 examined the competencies of administrators in the digital era that affected the school effectiveness. The research instrument was a set of questionnaires on administrators’ competencies in the digital era, with the reliability of .982, and on the school effectiveness, with the reliability of .989. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One Sample and Independent samples t - test, F - test (One - Way ANOVA), Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Simple regression analysis. Part 2 established guidelines for developing administrators’ competencies in the digital era that served as significant predictors of the school effectiveness through expert interviews and content analysis.
The findings were as follows:
1. The administrators’ competencies in the digital era were overall at a high level, while the school effectiveness was overall at the highest level.
2. The overall competencies of administrators in the digital era and the school effectiveness, classified by positions, showed differences at the .01 level of significance. However, when considering work experience, there was no significant variation overall. There were overall differences at the .01 level of significance regarding school sizes.
3. The administrators’ competencies in the digital era showed a positive relationship with the effectiveness of schools at the .01 level of significance with a moderate level of correlation coefficient (rxtyt = .526)
4. The administrators’ competencies in the digital era comprised two aspects that served as significant predictors, namely Knowledge and Information Technology (IT) Utilization, and Professional Administrators, with the predictive power of 30.4 percent.
5. The guidelines for developing administrators’ competencies in the digital era include 1) Knowledge and IT Utilization: School administrators must possess basic skills, knowledge, and understanding of IT. They should also promote and support personnel in utilizing IT for performing tasks, enhance instructional processes, and attend training and seminars on technology, 2) Professional Administrators: School administrators should have a clear vision, keep pace with changing technologies, possess expertise in utilizing digital technology, and create a conducive environment that facilitates IT usage for both personnel and students.
คำสำคัญ
สมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล, ประสิทธิผลโรงเรียนKeyword
Competencies of Administrators in the Digital Era, Effectiveness of Schoolsกำลังออนไลน์: 24
วันนี้: 1,099
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,592
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093