...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 154-163
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 6
Download: 1
Download PDF
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Using Information Technology for Academic Affairs Administration Toward Excellence Under Loei Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
คนึงนิด กงภูธร, สุชาติ บางวิเศษ, ศักดินาภรณ์ นันที
Author
Khanungnid Kongphothon, Suchat Bangwiset, Sakdinaporn Nuntee

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นในการบริหารงานวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ตัวอย่าง จำนวน 252 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 60 คน และครู จำนวน 192 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) ศึกษาแนวทาง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และขั้นตอนที่ 2 การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR: Multi Attribute Consensus Reaching) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และ 3) ประเมินแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ โดยการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมิน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 
1. สภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่า (PNImodified = 0.20) 2) ด้านการวัดผลและประเมินผล มีค่า (PNImodified = 0.19) และ 3) ด้านการนิเทศการจัดการเรียนการสอนมีค่า (PNImodified = 0.18)
2. ศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการนิเทศการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการวัดผลและ ประเมินผล 4) ด้านการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ5) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โดยรวมทุกด้าน มี 15 วิธีการดำเนินการ 15 แนวปฏิบัติ และ 15 เงื่อนไขความสำเร็จ
3. ผลการประเมินแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน ผลการประเมินโดยภาพรวมมีระดับความสำคัญ คือ สำคัญมากที่สุด มีค่าคะแนนอยู่ที่ 94.30 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน มีค่าคะแนนอยู่ที่ 94.79 รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีค่าคะแนนอยู่ที่ 94.69 และด้านที่มีระดับความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีค่าคะแนนอยู่ที่ 93.38 

Abstract

The application of information technology for academic administration is crucial. This is advantageous for the growth of academic administration's efficacy and efficiency in educational institutions. The objectives of this research were 1) To study current conditions, desirable conditions, and priority needs indexes of using information technology for academic affairs administration toward excellence. There are 252 samples consisted of 60 school administrators and 192 teachers by using the Krejcie & Morgan sample size criteria and stratified random sampling. The questionnaire was applied for data gathering. 2) To study guidelines, divided into 2 steps: Step 1, In - depth Interview. Three school administrators were the informant group. A semi - structured interview was the tool applied. and Step 2, Multi Attribute Consensus Reaching by 10 experts. 3) To assess guidelines of using information technology for academic affairs administration toward excellence. Evaluation by 10 experts. Assessment forms were the tools applied. The statistical methods used to compute the frequency, percentage, mean, standard deviation, and modified priority needs index for quantitative data. Analyzing qualitative data with descriptive analysis.
The research findings were as follows:
1. The overall of the current conditions of using information technology for academic affairs administration toward excellence has a high level  The overall of the desirable conditions of using information technology for academic affairs administration toward excellence has a highest level and the top three modified priority needs index for using information technology for academic affairs administration toward excellence were: 1) The curriculum development (PNImodified = 0.20) 2) The measurement and evaluation (PNImodified = 0.19) and 3) The instructional supervision (PNImodified = 0.18)
2. The results of study guidelines for using information technology for academic affairs administration toward excellence. There are 5 components: 1) The curriculum development 2) The supervision of teaching and learning 3) The measurement and evaluation 4) The development of educational technology media and 5) The development of an internal quality assurance system.; Totally there 15 operational strategies, 15 best practices, and 15 success criteria. 
3. The results of the assessment of guidelines for using information technology for academic affairs administration toward excellence. There are a total of 5 components, according to 10 experts. The level of relevance is considered to be the most significant factor in the overall evaluation outcome 94.30. The component of the development of an internal quality assurance system is shown to have the highest amount of importance when all other factors are taken into account and it has a score of 94.79 followed by the development of educational technology media has a score of 94.69. And the curriculum development is the one with the lowest level of importance has a 93.38 scoring value.

คำสำคัญ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารงานวิชาการ, ความเป็นเลิศ

Keyword

Information Technology, Academic Affairs Administration, Toward Excellence

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093