บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 2) เปรียบเทียบการบริหารงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 331 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และการเทียบสัดส่วนตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.971 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การเปรียบเทียบการบริหารงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า
มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมพบว่า 1) ด้านวิสัยทัศน์ร่วมและค่านิยมร่วม ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงบุคลากรใหม่จึงยังไม่เปิดใจรับ PLC และไม่เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน แนวทางการพัฒนาควรมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์หรือสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันใหม่ทุก ๆ ปี ผู้บริหารสถานศึกษาควรประชุม PLC สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง 2) ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ปัญหาเกิดจากครูไม่กล้าอภิปรายร่วมกัน ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้สมาชิกในทีมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานและพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ 3) ด้านภาวะผู้นำร่วม ปัญหาครูบางคนไม่กล้าเป็นผู้นำและครูขาดโอกาสที่จะได้รับการเป็นผู้นำ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูเป็นผู้นำตามลักษณะความสามารถ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีภาวะผู้นำ 4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ปัญหาครูขาดการอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพจากแหล่งเรียนรู้อื่น ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมและพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และเชิญวิทยากรท้องถิ่นหรือหน่วยงานภายนอกเข้ามาพัฒนาครูในสถานศึกษา 5) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ปัญหาการขาดงบประมาณ ขาดบุคลากร ขาดการยกย่องชมเชย ผู้บริหารควรจัดหางบประมาณให้เพียงพอ
โดยระดมทรัพยากรทางการศึกษา และควรส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สร้างขวัญกำลังใจให้ครู ยกย่องชมเชยอย่างสม่ำเสมอ
Abstract
The purposes of the research were 1) to study the level of administration of the professional learning community in the educational institutions under Sisaket Primary Educational Service Area Office 4, 2) to compare the view of school administrators and teachers of educational institutions and regarding administration of the professional learning community and 3) to study problems and guidelines for the developing the administration of the professional learning community in the educational institutions under Sisaket Primary Educational Service Area Office 4. The sample consists of 331 School Administrators and teachers. People using stratified random sampling and proportional comparison according to the size of schools. Methods for random sampling include stratified random sampling and comparison by size of educational institutes. The instruments used for data collection were questionnaires, scales, 5 - point estimations, and interview forms. The reliability of the questionnaire was 0.971. The statistics used were percentage, mean, and standard deviation. Statistics were used for t - test, F - test, and content analysis.
The results show that:
1. The results of the administration of the professional learning community in the educational institutions under Sisaket Primary Educational Service Area Office 4 indicated that the overall was at a highest level.
2. Comparison of the administration of the professional learning community in the educational institutions under Sisaket Primary Educational Service Area Office 4, when classified by position, it was found that overall different statistically at the 0.01 level when classified according to working experiences and the size of the schools it was found that overall there were no different opinions.
3. Problems and guidelines for the developing the administration of the professional learning community in the educational institutions it was found that overall 1) Shared vision and value the problem of changing personnel is that the new personnel are still not open to accepting the PLC and do not have a shared vision. Development guidelines the vision must be revised or a new shared vision created every year. Educational institution administrators must meet with the PLC 1 - 2 times a week 2) Collaborative teamwork the problem arises from teachers not daring to discuss together. Educational institution administrators should encourage team members to meet regularly to exchange knowledge and work experiences and talk 3) Shared leaderships the problem was that some teachers do not dare to be leaders and teachers lack opportunities to be leaders. Educational institution administrators should assign teachers to be leaders according to their abilities. Give everyone an opportunity to have leadership 4) Learning and professional development the problem of teachers lacking training for professional development from other learning sources. Educational institution administrators should encourage teachers to receive training and develop themselves regularly and invite local lecturers or outside agencies to develop teachers in educational institutions. 5) Supportive structure problems of lack of budget, lack of personnel, lack of praise and praise. Educational institution administrators should find an adequate budget by mobilizing educational resources and teachers should be encouraged to organize integrated learning. Create morale for teachers praise regularly.
คำสำคัญ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพKeyword
Professional Learning Community (PLC)กำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,909
จำนวนครั้งการเข้าชม: 401,938
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093