บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิทยาการวิจัยแบบผสมผสาน มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ 3) ประเมินแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ ความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 82 คน และ ครูผู้สอน จำนวน 231 คน ปีการศึกษา 2565 โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทาง มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และ ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ ระยะที่ 3 การประเมินแนวทาง โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเรียนการสอน และ 3) ด้านความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ผลการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน 3) ด้านความรู้พื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และ 5) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศถูกต้องตามกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ และปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 14 วิธีดำเนินการ 11 โครงการ 16 กิจกรรม 56 วิธีปฏิบัติ
3. ผลการประเมินแนวทาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้
Abstract
The research was a mixed methodology. The purposes of this research were: 1) to study the current condition, desirable condition, and priority needs of the teacher competency in using information technology under Nong Bua Lam Phu primary educational service area office 1 2) to study the guidelines for enhancing teacher competency in using Information technology and 3) to assess the guidelines for enhancing teacher competency in using Information technology. The research method was divided into 3 phases: Phase 1 studying the current condition, desirable condition, and priority needs. The sample group consisted of 313 administrators and school teachers, 82 of whom were administrators and 231 teachers of the academic year 2022 using the sample size according to the Krejcie & Morgan sample size tables and stratified random sampling method. Phase 2 studying guidelines, was divided into 3 steps: Step 1 In - depth Interview, The target group consisted of 3 administrators. Step 2 guideline drafting and step 3 Focus Group Discussion, the target group consisted of 9 experts. Phase 3 evaluating the guidelines, was accessed by 5 eminent persons. The research tools were a questionnaire, a Semi -structured Interview, a Focus Group recording form, and a criterion - referenced evaluation. The statistics used in the quantitative data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, modified priority needs index, and qualitative data analysis by means of descriptive analysis.
The research findings were as follows:
1. The overall level of the current condition was at a high level The overall level of the desirable condition was at the highest level and the top three modified priority needs index was as follows: 1) information management 2) The use of information technology in teaching and learning, and 3) The information technology fundamentals.
2. Results of the guidelines. There were 5 components: 1) information management 2) The use of information technology in teaching and learning 3) information technology fundamentals 4) the use of information technology to develop the personal profession and 5) The use of information technology correctly in Social, Ethical and Human Safety include 14 procedures, 11 projects, 16 activities and 56 methods of practice.
3. Assessment results of the guidelines found overall, it was at the highest level from highest to lowest rank as follows: utility propriety and feasibility
คำสำคัญ
แนวทางการเสริมสร้าง, สมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, ความต้องการจำเป็นKeyword
Guidelines For Enhancing, Teacher Competency in Using Information Technology, Priority Needs.กำลังออนไลน์: 29
วันนี้: 1,169
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,662
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093