บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) ศึกษาแนวทาง และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 60 คน และครู จำนวน 192 คน รวมทั้งสิ้น 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและ ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ 1) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม (PNImodified = 0.17) 2) ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ (PNImodified = 0.17) และ 3) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (PNImodified = 0.15)
2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ พบว่าประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 10 วิธี 2) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่าประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 8 วิธี 3) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม พบว่าประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 9 วิธี 4) ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย พบว่าประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 11 วิธี และ 5) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ พบว่าประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 11 วิธีเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน โดยการประเมินอิงเกณฑ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the current condition, desirable condition, and priority need indexes of the school administration, 2) to study guidelines and 3) to assess guidelines for development competencies according to the position standard of administrators. The sample groups were 60 school administrators and 192 teachers total were 252 people. The research was a 5 - level The reliability value is 0.99. The statistics for quantitative data analysis were by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index: PNImodified. The statistics for qualitative data analysis were with the content analysis method.
The results were as follows.
1. The overall level of the current condition was at a high level. The overall level of the current desirable condition was at the highest level, and the priority needs index was 1) strategic change management, and innovation (PNImodified) = 0.17. 2) Academic Administration and Academic Leadership (PNImodified = 0.17) and 3) Self-development and professional development (PNImodified = 0.15).
2. The result of developing the guidelines for development competencies according to the position standard of administrators. There are 5 components in total: 1) Academic Administration and Academic Leadership, it was found that it consisted of 3 methods of operation, 3 activities, and 10 methods of practice. 2) School Management, it was found that it consisted of 3 methods of operation, 3 activities, and 8 methods of practice. 3) Strategic change management and innovation, it was found that it consisted of 3 operational methods, 3 activities, and 9 methods of practice. 4) Community and network administration, it was found that it consisted of 3 operational methods, 3 activities, and 11 methods of practice, and 5) Self - development and professional development, it was found that it consisted of 3 operational methods, 3 activities, and 11 methods of practice.
3. The overall assessment results of the guidelines for development competencies according to the position standard of administrators were at a high level. The order of the highest to the lowest was Propriety, Utility and Feasibility.
คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา, สมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
The Guidelines for Development, The Position Standard Administratorsกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 2,470
เมื่อวานนี้: 2,291
จำนวนครั้งการเข้าชม: 459,297
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093