บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำทางการบริหารตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ 3) ศึกษา ผลการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ และ 4) ศึกษาผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำทางการบริหารตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไป ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป ซึ่งรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และพัฒนาเป็นคู่มือเพื่อการนำรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ไปใช้ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาคือ โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และ ระยะที่ 4 ศึกษาผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์
ผลการวิจัย พบว่า
ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำทางการบริหารตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารแบบมีส่วนร่วม พบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหาร ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี ด้านการทำงานเป็นทีมและด้านการพัฒนาตนเองตามลำดับ สมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหาร ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจ ด้านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ และด้านการพัฒนาบุคลากรตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำทางการบริหารที่นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมบริหารเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารทั่วไป และด้านบุคลากร
ระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ พบว่า องค์ประกอบหลักของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธร่วมกัน (Strategic corporate Analysis) 2) การวางแผนกลยุทธ์ร่วมกัน (Strategic corporate Planning) 3) การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน (Strategic corporate Implementation)และ 4) การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ร่วมกัน (Strategic corporate Control and Evaluation) และนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานทุกภารกิจภายใต้การบริหารเชิงกลยุทธ์และบูรณาการการมีส่วนร่วมจาก 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานบริหารบุคคล กลุ่มงานงบประมาณ และกลุ่มงานบริหารทั่วไปโดยใช้รูปแบบ MUANGMUK Model ประกอบด้วย M (Management), U (Understanding), A (Active), N (Natural), G (Good Governance), M (Moral), U (Unity) และ K (King’s Philosophy)
ระยะที่ 3 ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ พบว่า สมรรถนะผู้นำทางการบริหารสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาภายใต้การบริหารตามรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยการบูรณาการแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารแบบมีส่วนร่วมนี้ ส่งผลให้เกิดผลงานเชิงประจักษ์ โดยมีผลสัมฤทธิ์ (Results) ใน 6 มิติ ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน สูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ส่วนด้านกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนแบบ Active Learning ด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู และด้านคุณภาพครู สอดคล้องกับสมรรถนะวิชาชีพครู ด้านคุณภาพนวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการบริหารจัดการ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และด้านการมีส่วนร่วมจากเครือข่าย ได้รับความร่วมมือในทุกกิจกรรมของสถานศึกษา ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน ได้รับรางวัลในระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ระยะที่ 4 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ พบว่า การประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ จากผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยการบูรณาการแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The development of this strategic management model. The objectives of this research were 1) to study the condition and guidelines for developing management leadership competencies in accordance with the philosophy of Sufficiency Economy and Participatory Management, 2) to develop a strategic management style, 3) to study the results of the use of strategic management styles, and 4) to study the results of the evaluation of strategic management styles. Development of this strategic management model. The research and development (R&D) model was used in 4 phases as follows: Phase 1: Study the conditions and guidelines for developing executive leadership competencies in accordance with the philosophy of Sufficiency Economy and Participatory Management. The target group consisted of 57 school administrators, and the instrument used was a 5 - level estimation questionnaire based on Likert's methodology yield 0.67 or more. Phase 2: Development of management model strategy through 17 experts, the tools used include a 5-level assessment scale of the suitability and feasibility of the strategic management model, which is appropriate and feasible, and developed a manual for the implementation of the strategic management model, and the instrument used was a 5-level estimation questionnaire based on Likert's methodology yield 0.70 or more. Phase 3: Studied the results of the use of the strategic management model by applying the developed model to the management of educational institutions, namely Muangmukwittayakom School, Muang Mukdahan District, Mukdahan Province, and Phase: 4 studied the results of the evaluation of strategic management model.
The research results found that:
Phase 1: The results of the study on the condition and guidelines for developing executive leadership competencies in accordance with the philosophy of sufficiency economy and participatory management to strengthen executive leadership competencies for school administrators found that 1) the core competencies of executives in terms of achievement, good service, teamwork, and personal development respectively, executive competencies in vision, transformational leadership, communication and motivation, analytical and synthetic thinking, and personnel development, respectively. 2) Guidelines for developing executive leadership competencies that lead to the development of strategic management innovations include management, academic, budgetary, general administration, and personnel.
Phase 2: Phase 2: The results of the development of the strategic management model showed that the main components of the strategic management model consisted of 1) Strategic corporate analysis, 2) Strategic corporate planning, 3) Strategic corporate implementation, and 4) Strategic corporate control and evaluation to participate in strategic management by managing with 4 functional groups, namely Academic Division, Human Resource Management Group, Budget Group, and General Management Group using the MUANGMUK Model consisting of M (Management), U (Understanding), A (Active), N (Natural), G (Good Governance), M (Moral), U (Unity) and K (King's Philosophy).
Phase 3: The results of the study on the use of strategic management models found that the competency of school management leaders has been developed under the management according to the strategic management model by integrating the philosophy of sufficiency economy and participatory management. This results in empirical results in 6 dimensions, namely, student quality is higher than the target value set by the school. As for activities to promote active learning, the quality of teachers' learning management and teacher quality are in line with the professional competencies of teachers. The quality of innovation arising from the management process. Highest level of satisfaction and participation from the network and cooperation in all activities of the school. Make school administrators Teachers and students have won awards nationally and regionally. Provincial - level and school district-level.
Phase 4: The results of the assessment of the strategic management style found that the evaluation of the strategic management style from the survey results of user satisfaction with the strategic management style by integrating the philosophy of sufficiency economy and participatory management was at the highest level.
คำสำคัญ
การบูรณาการแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, รูปแบบการบริหารเชิงลยุทธ์, การบริหารแบบมีส่วนร่วมKeyword
Integration Of the Concept of Sufficiency Economy Philosophy, Strategic Management Model And Participatory Managementกำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 1,117
เมื่อวานนี้: 2,845
จำนวนครั้งการเข้าชม: 398,610
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093