...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 88-99
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 7
Download: 2
Download PDF
แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
Guidelines for Mobilizing Educational Resources of Schools under the Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
กรกนก เลิศสุภาผล, อัจฉรา นิยมาภา
Author
Kornkanok Loedsupapol, Achara Niyamabha

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 2) แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 174 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามใช้ขนาดของสถานศึกษา และคำนวณตามสัดส่วนของขนาดสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิให้สัมภาษณ์ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 
1. สภาพการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปถึงน้อยสุดได้ดังนี้ การระดมทรัพยากรการเงิน การระดมทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์ การระดมทรัพยากรเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการระดมทรัพยากรบุคคล ส่วนปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาดังกล่าว โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปถึงน้อยสุดได้ดังนี้ การระดมทรัพยากรบุคคล การระดมทรัพยากรการเงิน การระดมทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์ และการระดมทรัพยากรเทคโนโลยีและนวัตกรรม
2. แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) การระดมทรัพยากรบุคคล เช่น ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดโครงการ/กิจกรรม และสำรวจบุคลากรที่ต้องการเพื่อให้มาร่วมสนับสนุน และจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อให้ความเห็นชอบ 2) การระดมทรัพยากรการเงิน เช่น สถานศึกษาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการขอรับบริจาคเงินโดยชี้แจงวัตถุประสงค์ของการระดมทุนอย่างชัดเจน และแสดงความขอบคุณโดยการเผยแพร่เกียรติคุณของผู้บริจาค 3) การระดมทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์ เช่น ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อสำรวจความต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นและขาดแคลน และสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อติดต่อขอความอนุเคราะห์ ขอหรือขอยืมวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้น และ 4) การระดมทรัพยากรเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ผู้บริหารสถานศึกษาชี้แจงให้ครูตระหนักถึงความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องนิเทศ ติดตามเกี่ยวกับการใช้สื่อเทคโนโลยีนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง
 

Abstract

The objectives of this research were to study 1) existence and problems of educational resource mobilization of schools under the Office of Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 2, and 2) Guidelines for mobilizing educational resources of such schools. The sample group were 174 school administrators and school committee chair persons. Determine the sample size from Table of Krejcie, R. V. & Morgan and used the stratified random sampling method according to the size of the educational institution and calculated in proportion to the size of the educational institution. and 5 experts for interviews by purposive sampling. The research tools were a questionnaire with a reliability of 0.97 and a semi - structured interview schedule. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation. and content analysis
The results showed as follows.
1. The overall existence of educational resource mobilization of the schools was at the high level; from which its aspects were ranked from the top as: mobilization of financial resources, mobilization of materials and equipment resources, mobilization of technology and innovation resources, and mobilization of human resources. As for the problems of mobilizing such educational resources, the overall was at the low level; from which its aspects were ranked from the top as: mobilization of human resources, mobilization of financial resources, mobilization of materials and equipment resources, and mobilization of technology and innovation resources.
2. Guidelines for mobilizing educational resources of such educational institutions were four measures as: 1) for human resources mobilization, school administrators determine projects/activities. and survey the required personnel to join and support, and convene a meeting of the school committee for approval; 2) for financial resources mobilization, schools publicize about requests for donations by clearly clarifying the objectives of fundraising and express gratitude to the donor's; 3) for materials and equipment resources mobilization, school administrators convene meetings of teachers and educational personnel to explore requirements and shortages of materials and equipment. and explore information about materials and equipment possessed by various agencies to request for assistance or for borrowing those materials and equipment, and 4) for technology and innovation resources mobilization, school administrators encourage awareness of teachers on importance of using technology and innovation. and provide training workshops on instructional technology and innovation for teachers and educational personnel. and school administrators must continuously supervise and follow up usage of innovative technology in teaching and learning management.
 

คำสำคัญ

แนวทาง, การระดมทรัพยากรทางการศึกษา, สถานศึกษา

Keyword

guidelines, mobilizing educational resources, schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093