...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 33-44
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 12
Download: 4
Download PDF
การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
A Factor Analysis of Academic Leadership of School Administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
กรกช กุณรักษ์, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ผกาพรรณ วะนานาม
Author
Korrakot Kunnarak, Ploenpit Thummarat, Pakapan Wananam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 การวิจัยมี 2 ขั้นตอน ตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ตอนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 361 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าอำนาจจำแนก ของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.296 – 0.921 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.984 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบและองค์ประกอบย่อย 18 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่ 1 การนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การดำเนินการนิเทศ 3) การประเมินผลการนิเทศ องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ 1) การประเมินหลักสูตร 2) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 3) การนำหลักสูตรไปใช้ 4) การพัฒนาหลักสูตร องค์ประกอบที่ 3 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาของสถานศึกษา 2) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของสถานศึกษา 3) กำหนดโครงการและกิจกรรมแผนปฏิบัติการ 4) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา 5) นำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ องค์ประกอบที่ 4 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การจัดสภาพแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการ 2) การจัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ 3) การจัดสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ องค์ประกอบที่ 5 การพัฒนาครูและบุคลากร ได้แก่ 1) การฝึกอบรมสัมมนา 2) การศึกษาดูงาน 3) การศึกษาต่อ 4) การพัฒนาตนเอง
2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ย
สูงที่สุด คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รองลงมา คือ การบริหารจัดการหลักสูตร การนิเทศภายในสถานศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และการพัฒนาครูและบุคลากรตามลำดับ
3. การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้ค่าวัดความสอดคล้อง คือ χ2 = 6.799, (χ2/df) = 0.680, df = 10, p-value = 0.744, TLI = 1.006, CFI = 1.000, RMSEA = 0.002 และ SRMR = 0.000 โดยมีค่าของน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ และมีค่าอยู่ระหว่าง 0.628 ถึง 0.991 เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา (0.991) การนิเทศภายในสถานศึกษา (0.866) การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา (0.840) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (0.729) และการพัฒนาครูและบุคลากร (0.628)

Abstract

The research aimed to 1) examine the components of academic leadership of school administrators; 2) explore the academic leadership of school administrators, and 3) conduct a confirmatory factor analysis of the academic leadership of school administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The 2-stage research was employed comprising: Stage I investigated factors of academic leadership of school administrators through document inquiries and expert interviews. Stage II was a confirmatory factor analysis. The sample group, obtained through multistage random sampling, consisted of 361 school administrators from Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, in the academic year 2023. Data were collected using interviews and a 5-point rating scale questionnaire. The questionnaire’s discrimination index ranged from 0.296 to 0.921, with the reliability of 0.984. Descriptive and reference statistics were analyzed through the statistical software packages for basic statistics and confirmatory factor analysis. 
The research findings were as follows:
1. The components of academic leadership of school administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 consisted of five key components and 18 sub-components, including Component 1: Internal School Supervision comprising 1) planning, 2) implementation, and 3) evaluation; Component 2: Curriculum Management, comprising 1) curriculum evaluation, 2) school curriculum development, 3) curriculum implementation, and 4) curriculum development; Component 3: Establishment of Educational Development Plans, including 1) analysis of current conditions and challenges in schools; 2) formulation of school visions, missions, and goals; 3) creation of project and activity action plans; 4) establishment of quality education management plans, and 5) Implementation of quality education management plans; Component 4: Creating a Conducive Learning Environment, comprising 1) organizing management environments, 2) organizing physical environments, and 3) organizing academic environments; Component 5: Teacher and Personnel Development, including 1) training and seminars, 2) study visits, 3) pursuing further education, and 4) personal development.
2. The academic leadership of school administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 was overall at the highest level. When considering each component, creating a conducive learning environment had the highest mean value, followed by curriculum management, internal school supervision, formulation of quality education management plans, and teacher and personnel development, respectively.
3. The confirmatory factor analysis showed that the academic leadership of school administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 was consistent with the empirical data (χ2 = 6.799, (χ2/df) = 0.680, df = 10, p-value = 0.744, TLI = 1.006, CFI = 1.000, RMSEA = 0.002 and SRMR = 0.000). The factor weights were performed positively at the .01 level of significance for all factors, ranging between 0.628 and 0.991 from high to low values as follows: Formulation of quality educational development plans (0.991), internal school supervision (0.866), curriculum management (0.840), creating a conducive learning environment (0.729), and teacher and personnel development (0.628).
 

คำสำคัญ

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา

Keyword

Factor Analysis, Academic Leadership, School Administrators

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093