บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 330 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสภาพปัจจุบันมีค่าอำนาจจำแนก 0.405 - 0.855 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.979 ในส่วนแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนก 0.367 - 0.769 และค่าความเชื่อมั่น 0.961 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ T - test และ One - way ANOVA ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 สภาพปัจจุบัน โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมทางวิชาการ 2) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย และ 3) ด้านการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน 5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมทางวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดสิ่งแวดล้อม ปรับปรุง พัฒนาอาคารสถานที่ให้มีความปลอดภัย เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานของครู และการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวางแผนโดยมีส่วนร่วมของครู นักเรียนในการกำหนดทิศทางภารกิจการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียน เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นระบบ และ 3) ด้านการบริหารหลักสูตร และการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้และเข้าใจการบริหารหลักสูตร และการเรียนการสอน เพื่อนิเทศเป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำแก่คณะครู และการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักและส่งเสริมบุคลากรให้เกิดความรู้ความเข้าใจและนำหลักสูตรมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
The research aimed were to examine, compare current conditions and desired conditions, and establish guidelines for developing instructional leadership of School Administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample group, obtained through simple random, consisted of 330 participants working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2023. The tool for data collection was a set of questionnaires on current and desirable conditions of instructional leadership of School Administrators. The questionnaire on the current condition had the discriminative power from 0.405 to 0.855 and the reliability of 0.979. The desirable condition questionnaire had the discriminative power from 0.367 to 0.769 and the reliability of 0.961. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, The hypothesis was tested using t - test analysis, and One - way ANOVA and Priority Needs Index. Using expert interviews using content analysis.
The findings were as follows:
1. The current conditions of instructional Leadership of School Administrators were overall at a high level, whereas the desirable conditions were overall at the highest level.
2. The current conditions of instructional Leadership of School Administrators classified by positions, as a whole, showed no variation. And school sizes, as a whole, showed a difference at the .01 level of significance. and Work experience, as a whole, showed a difference at the .01 level of significance.
3. The desired conditions of instructional Leadership of School Administrators classified by positions, as a whole, showed no variation. And school sizes, as a whole, showed a difference at the .01 level of significance. and Work experience, as a whole, showed a difference at the .05 level of significance.
4. The need for developing of instructional Leadership of School Administrators In order from high tolow, they are 1) Creating an atmosphere that encourage academics 2) Setting vision, mission and goals and 3) Curriculum administration and teaching
5. Guidelines for developing of instructional Leadership of School Administrators in 3 areas as follows: 1) Creating an atmosphere that encourage academics the school Administrators should organize the environment, improve and develop buildings and facilities to be safe. Conducive to teachers' work performance and learning of students. 2) Setting vision, mission and goals the school Administrators should plan with the participation of teachers. Students in setting the direction of the school development mission, clear goals, vision, and mission. To develop academic achievement systematically and 3) Curriculum administration and teaching the school Administrators should have knowledge and understanding of curriculum management. and teaching to supervise and act as a consultant and give advice to teachers and continuous teaching Raise awareness and encourage personnel to have knowledge, understanding and effective use of the curriculum.
คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น, ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
Development Guidelines, Academic Leadership of School Administratorsกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 2,671
เมื่อวานนี้: 2,291
จำนวนครั้งการเข้าชม: 459,498
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093