...
...
เผยแพร่: 30 มี.ค. 2568
หน้า: 11-21
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 8
Download: 2
Download PDF
ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานความสัมพันธ์ กับชุมชนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Strategic Leadership of School Administrator Affecting School - Community Relationship Operations Under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
พงศ์ศิริ ขันธวิชัย, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Phongsiri Khantawichai, Wattana Suwannatrai, Pinyo Tonglao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 348 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 80 คน ครูผู้สอน จำนวน 188 คน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 80 คน จากโรงเรียน 80 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .58 - .86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 และแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .54 - .79 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. การดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. การดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน อยู่ในระดับสูง (r = .881) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร มีจำนวน 3 ด้านที่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์การ (X1) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ (X2) และด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การ (X5) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 52.00 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .16597

7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย

ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์การ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ และด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การ

Abstract

This correlational research aimed to examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power and guidelines for developing strategic leadership of school administrators affecting school – community relationship operations under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 2 were classified by positions and school sizes. The sample group obtained through multi-stage sampling, consisted of 348 participants, including 80 school administrators, 188 teachers, 80 chairman of basic education school board committees in school from 80 schools in the academic year 2023 based on Krejcie and Morgan. The tool used to collect data was a 5-point rating scale questionnaire, the desirable strategic leadership questionnaire had the discriminative index range from .58 to .86 and the overall reliability was at .93. The school – community relationship operations’ questionnaire had the discriminative index range from .54 to .79 and the overall reliability was at .95. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, One - Way ANOVA, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The strategic leadership of school administrators had the overall range at the highest level.

2. The school – community relationship operations had the overall range at the highest level.  

3. The strategic leadership of school administrators which was classified by position showed the overall range had differences at the .01 level of significance. Meanwhile, classification by school sizes had no differences.

4. The school – community relationship operations which was classified by position showed the overall range had differences at the .01 level of significance. Meanwhile, classification by school sizes had no differences.

5. The strategic leadership of school administrators had a positive correlation with the school – community relationship operations at high level (r = .881) with the .01 level of significance.

6. There were 3 parts of the strategic leadership of school administrators that were predictable with the school – community relationship operations at the .01 level of significance as follows: 1) Establishing vision and organizational direction (X1), 2) Strategy formulation (X2), and 3) Corporate culture fundamental (X5). The predictive power was at 52.00, and Standard Error of estimate was at ± .16597.

7. The guidelines for developing strategic leadership of school administrators affecting school – community relationship operations under The Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 2 for all 3 parts consisted of Establishing vision and organizational direction, Strategy formulation, and corporate culture fundamental.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร, การดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน

Keyword

Strategic Leadership, School – Community Relationship Operations

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093