บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะการบริหารโครงการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 ศึกษาทักษะการบริหารโครงการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 256 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.55 – 0.97 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารโครงการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์การวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และร้อยละ และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ มีทักษะการบริหารโครงการ อยู่ในระดับมาก
2. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารโครงการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในภาพรวม วิเคราะห์นโยบายแผนงานและโครงการขององค์กรต่าง ๆ วิเคราะห์จุดอ่อน วิเคราะห์จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา เพื่อการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ เช่น นำกระบวนการวิธีปฏิบัติ PLC. และวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาด้านนวัตกรรมวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice
2.1 ด้านการริเริ่มโครงการ (litigative Process) ควรมีหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดแผนกลยุทธ์ โดยใช้แนวคิดเชิงระบบ (System Concept) เป็นกระบวนการระดมสมอง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และการจัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) สร้างปฏิทินการปฏิบัติงาน การจัดทำข้อตกลงในการปฏิบัติงานระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา กับครูผู้สอน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเป็นกรอบในการริเริ่มโครงการ เช่น นำหลักการ SMART มาตั้งเป้าหมายขององค์กรในการริเริ่มโครงการ แนวทางการพัฒนากับสถานศึกษาที่มี Best Practice.
2.2 ด้านการนำโครงการไปปฏิบัติ (implementation Phase) ควรเป็นผู้นำในการใช้ศิลปะในการจูงใจให้บุคลากรแต่ละคน ยึดหลักการ 5 ประการ ในการนำโครงการไปปฏิบัติ คือ ทำงานด้วยความเต็มรู้ เต็มใจ เต็มเวลาเต็มคน และเต็มพลัง เพื่อที่จะทำให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และมีเป้าหมายร่วมกัน เช่น นำหลักการ AddIe Model. เป็นกระบวนการออกแบบ และการบริหารจัดการด้านการจัดโครงสร้างขององค์กร โดยการออกคำสั่งการปฏิบัติงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรแต่ละคนให้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตามความรู้ความสามารถ ความถนัด ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการกำกับควบคุมโครงการในการนำโครงการไปปฏิบัติ 2.3 ด้านการปิดโครงการ (Divestment Phase) ควรมีกระบวนการต่าง ๆ ในการพัฒนาทักษะการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา รวบรวมสรุปโครงการ/กิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน เพื่อสรุปการดำเนินโครงการเป็นภาพรวม โดยตรวจสอบผลก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างการดำเนินโครงการ และหลังการดำเนินโครงการ หาจุดอ่อนและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วนำไปพัฒนาต่อยอดในการดำเนินโครงการครั้งต่อไป โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา ทำการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล สะท้อนผล อภิปรายผล และเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ
Abstract
The purposes of this research are to study the project management skills of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin. The research is divided into 2 phases. The first phase studied the project management skills of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin. The sample group used in the research was 256 people of school administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin by randomly stratified. The research tool was the questionnaire with a 5 -level estimation scale with discrimination between 0.55 - 0.97 and the reliability of 0.97. Statistics used in data analysis was percentage, mean and standard deviation. The second phase was to study the approaches for developing project management skills of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin. The main informant group consisted of 7 experts. The research tool was semi-structured interviews, content and percentage analysis and descriptive data presentation.
The findings were as follows:
1. The school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin have project management skills at a high level in all aspects.
2. The guidelines for developing project management skills of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin The overall fundamental analysis, policies, plans and projects of various organizations, weaknesses, strengths and issues for development of effective planning, such as the implementation of PLC processes and the PDCA quality management cycle. There should be participatory workshops in order to obtain guidelines for innovation development, Best Practice.
2.1 The initiative process, there should be participatory management principles in strategic planning using system concepts. It is a brainstorming process. There should have some work agreements between school administrators and teachers to create understanding and as a framework for initiating the project. For example, use the SMART principles to set organizational goals for project initiation.
2.2 The implementation Phase, the school administrators should be leaders in using the art of motivating each personnel, adhere to 5 principles in implementing the project in order to make the project achieve. For example, there should bring AddIe Model to be the process designing and management of organizational.
2.3 The Divestment Phase, there should have the processes to develop performance appraisal skills according to the operational plan in the past year. There should have the summary of projects/activities and analyze the data systematically. There are workshop organized between the school administrators and teachers to summarize the overall project. The school administrators have to supervise, monitor, evaluate, reflect, discuss the results, and disseminate project results.
คำสำคัญ
ผู้บริหารโรงเรียน, ทักษะการบริหารโครงการ, แนวทางการพัฒนาKeyword
School Administrators, Project Management Skills, Development Guidelineกำลังออนไลน์: 38
วันนี้: 2,496
เมื่อวานนี้: 2,291
จำนวนครั้งการเข้าชม: 459,323
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093