บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านในวง อำเภอละอุ่น จังหวัดระนองภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน มีดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 2) แบบประเมินความสามารถในการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ มีดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.35 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28 - 0.86 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน คะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The objectives of this research were to: 1) compare the ability in use geographical tools of being taught by learning management using game - based learning between before and after and 2) compare the learning achievement in geography strand of being taught by learning management using game - based learning between before and after. The sample group in this study consisted of 30 Grade 6 students at Ban Nai Wong School, La - un District, Ranong Province, in the 2nd semester, academic year 2023. The research instruments 1) Lesson plan game - based learning (IOC = 1.00) 2) assessment on ability in use geographical tool (IOC = 1.00), and3) learning achievement test (p = 0.35 - 0.80, r = 0.28 - 0.86, reliability = 0.86) and. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and t - test. The research results were as follows: 1. Ability in use geographical tools of being taught by learning management using game - based learning were higher than those before at the .05 level significance. 2. Achievement in use geographical tools of being taught by learning management using game - based learning were higher than those before at the .05 level significance.
คำสำคัญ
เกมเป็นฐาน, การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนKeyword
Game - based, Geographical Tools, Achievementกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 1,018
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,526
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093