...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2567
หน้า: 243-253
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 392
Download: 151
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนบ้านป่าแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
The Development of an Internal Supervision Model with the participation Promoting Active Learning of teachers Banpadaeng School Under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
สิทธิพงศ์ อุดมทรัพย์
Author
Sittipong Udomsub

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าแดง 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าแดง 3) ทดลองใช้และปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าแดง และ 4) ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าแดง การวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่า ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าแดง ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้และปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายใน แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าแดง และ ระยะที่ 4 การประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าแดง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบประเมินรูปแบบ 3) แบบทดสอบความรู้ 4) แบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 5) แบบประเมินเจตคติ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ S.D. และ t - test ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการนิเทศภายใน 2) ด้านการมีส่วนร่วม และ 3) ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า ครูมีคะแนนเฉลี่ยก่อนได้รับการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เท่ากับ 14.57 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ  25.21 และค่า t – test เท่ากับ 21.35 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า ครูมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The aims of this research were: 1) study the basic information for the development of a participatory internal supervision model to promote the proactive learning management of Banpadaeng School teachers. 2) to development of an Internal supervision model with the participation promoting active learning of teachers Banpadaeng School. 3) experiment development of an Internal supervision model with the participation promoting active learning of teachers Banpadaeng School. 4) assessing development of an Internal supervision model with the participation promoting active learning of teachers Banpadaeng School. It was carried out in 4 phases: phases 1 1) study the basic information for the development of a participatory internal supervision model to promote the proactive learning management of Banpadaeng School teachers. phases 2 to development of an Internal supervision model with the participation promoting active learning of teachers Banpadaeng School. phases 3 experiment development of an Internal supervision model with the participation promoting active learning of teachers Banpadaeng School. and phases 4 assessment of teacher satisfaction with participative internal supervision model to promote the proactive learning management of Banpadaeng School teachers. The statistics used is , S.D. and t - test The results of the study were as follows: 1. The results of the study of basic information for the development of a participative internal supervision model to promote proactive learning management of teachers found that there were 3 components: 1) internal supervision 2) participation aspect and 3) in the field of proactive learning management  2. The results of the development of a model of participatory internal supervision In order to promote teachers proactive learning management it was found that there were 5 components as follows: 1) principle 2) objective 3) content 4) process and 5) measurement and evaluation participatory internal supervision to promote the proactive learning management of teachers the overall suitability was at the highest level. 3. The results of the experimental model of participatory internal supervision. In order to promote the teachers' proactive learning management, it was found that the average score before receiving the internal supervision with participation was 14.57 and the mean score after school was 25.21 and the t-test value was 21.35 with t-test .05 4. The results of the assessment of satisfaction with the participative form of internal supervision to promote the proactive learning management of teachers, it was found that the overall satisfaction of teachers was at the highest level.

คำสำคัญ

รูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

Keyword

Development of an Internal Supervision Model, participation Promoting Active Learning

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093