...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2567
หน้า: 210-220
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 135
Download: 76
Download PDF
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Leadership of school Administrators Affecting Performance Motivation of teachers in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
สมศักดิ์ ยางเบือก, จินดา ลาโพธิ์, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
Author
Somsak Yangbeuk, Jinda Lapho, Ruethaisap Dokkham

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนา ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 การวิจัยครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 75 คน และครูผู้สอน จำนวน 256 คน จากโรงเรียน จำนวน 75 โรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการทำงาน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morganและใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นนตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.374 - 0.864 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 และแบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.435 - 0.873 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ t - test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน 4. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการทำงานไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .500 6. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งผลสำเร็จ (X4) 7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน คือ ด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งผลสำเร็จ

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing school administrators’ leadership affecting performance motivation of teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample consisted of 331 participants with different positions, school sizes, and work experience, including 75 school administrators, and 256 teachers from 75 schools.  The sample size was also calculated by using Krejcie and Morgan Table, and multi -stage random sampling. The instruments for data collection were two sets of 5 - rating scale questionnaires focusing on school administrators’ leadership, with the discriminative power from 0.374 to 0.864 and the reliability of 0.975, and a performance motivation of teachers with the discriminative power from 0.435 to 0.873 and the reliability of 0.977. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t – test, One – Way ANOVA, Pearson’s product – moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings revealed that: 1. The school administrators’ leadership, was overall at a high level. 2. The performance motivation of teachers in schools, was overall at a high level. 3. The school administrators’ leadership, different positions and school sizes, showed differences at the .01 level of significance, except for work experience, which showed no differences. 4. The performance motivation of teachers in schools with different positions and work experience showed no differences, except for school sizes, which showed differences at the .01 level of significance. 5. The school administrators’ leadership and the performance motivation of teachers in schools, had a moderate level of positive relationship at the .01 level of significance, with the correlation coefficient of .500. 6. The school administrators’ leadership in at least one aspect was able to predict the teachers' performance motivation in schools at the .01 level of significance, which was results-oriented leadership (X4). The equation for multiple regression analysis of raw scores and standardized scores could be summarized, respectively as follows: Yt′ = 2.714 + .394X4 ZYt′ = .556Z4 7. The development guideline for school administrators’ leadership affecting teachers' performance motivation in schools should emphasize results-oriented leadership.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา, แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู

Keyword

Leadership of School Administrators, Performance Motivation of Teachers

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093