บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 327 คน จาก 175 โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 27 คน และครู จำนวน 300 คน กำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน) และผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อมูล จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า มีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม และด้านการมีทักษะการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ด้านผู้บริหารสถานศึกษามีแนวทางการพัฒนาตนเอง ดังนี้ 1.1) หมั่นฝึกฝนการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาอื่น ๆ 1.2) การฝึกอบรมการทำงานเป็นทีมและการศึกษาดูงานจากผู้บริหารต้นแบบ 1.3) ศึกษาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง และจากบุคคลผู้มีประสบการณ์ 2) ด้านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ในฐานะที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัด มีแนวทางการพัฒนาผู้บริหารในสังกัด ดังนี้ 2.1) ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและการทำวิจัยของผู้บริหารโดยมีการเผยแผ่ให้ ผลงานเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น 2.2) ส่งเสริมกระบวนการ PLC เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 2.3) ส่งเสริมผู้บริหารให้มีทักษะด้านการติดต่อสื่อสารเพื่อนำมาใช้ประสานงานกับผู้อื่น 2.4) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย การคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีมเทคโนโลยีและดิจิตอล การตัดสินมุ่งผลสัมฤทธิ์และมนุษยสัมพันธ์ 2.5) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้บริหารคิดค้นนวัตกรรม และรูปแบบการบริหาร สถานศึกษาใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา 2.6) จัดหลักสูตรเกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรมให้ผู้บริหารได้เรียนรู้และสร้าง ผลงานของตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหา
Abstract
This research aims to 1) study the innovative leadership of school administrators. Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 2) To study the guidelines for developing innovative leadership of school administrators. Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, the sample group consisted of 327 school administrators and teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, academic year 2021, totaling 327 people from 175 schools, including 27 educational institute administrators. 300 people and teachers. The sample size was determined by setting the sample size according to Craigie and Morgan's table). Purposive random sampling. The instrument used for data collection was a questionnaire which was a 5 - level estimation scale and a structured interview form created by the researcher. The data were analyzed by frequency distribution, mean, and standard deviation. The results of the research found that 1. Innovative leadership of school administrators Under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, the overall level was at a high level. 2. Guidelines for developing innovative leadership of administrators in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 found that there were guidelines for developing innovative leadership of school administrators. Under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office, Region 1 in the field of teamwork and innovation participation. And in terms of having skills in creativity, innovation, there are 2 components as follows: 1) School administrators 1.1) Regularly practice working as a team with other school administrators. 1.2) Teamwork training and study tour from the master executive 1.3) Study new knowledge by yourself and from experienced people. 2) Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Area 1 2.1) Promote innovation and research by executives by disseminating works to set an example for others 2.2) Promote the PLC process as a guideline for creating and developing innovations. 2.3) Encourage executives to have communication skills for use in coordinating with others. 2.4) Promote the development of necessary skills in the 21st century for school administrators, including analytical and creative thinking, problem solving, communication, teamwork, technology and digital. Results - oriented judgment and human relations 2.5) Organize activities that encourage executives to innovate. and management style new school to apply in educational management 2.6) Organize research and innovation courses for executives to learn and create own work by using technology media to help solve problems
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารในโรงเรียนKeyword
Innovative Leadership, School Administratorกำลังออนไลน์: 58
วันนี้: 1,298
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,497
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093