...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2567
หน้า: 170-181
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 182
Download: 98
Download PDF
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Digital Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of Schools Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ไอรดา นรสาร, ไชยา ภาวะบุตร, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Irada Norasan, Chaiya pawabutra, Rutchadaporn ngoiphutorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 348 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 109 คน และครูผู้สอน จำนวน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.951 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .598 - .903 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .966  และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .460 - .843 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t - test, One - Way ANOVA, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารฃ มีจำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหาร (X1) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล (X3) โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ร้อยละ 41.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของพยากรณ์ เท่ากับ .56874 5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ทั้ง 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหาร ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ digital leadership affecting the effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 109 school administrators, and 239 teachers, yielding a total of 348 participants from schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the 2022 academic year. The tool for data collection was a set of questionnaires comprising two aspects: Aspect 1 was related to administrators’ digital leadership with the reliability of 0.951, and the discriminative power ranging from 0.589 to 0.903; Aspect 2 involved school effectiveness with the reliability of 0.966, and the discriminative power ranging from 0.460 to 0.843. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis testing was conducted using t-test, One - Way ANOVA, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.  The research results were as follows. 1. The administrators’ digital leadership and the school effectiveness, as perceived by participants, were overall at a high level. 2. The administrators’ digital leadership and the school effectiveness, as perceived by participants with different positions, were overall at the .05 level of significance. There were differences at the .01 level of significance overall in terms of school sizes, except for work experience, which showed no differences. 3. The administrators’ digital leadership and the school effectiveness, as perceived by participants, had a positive relationship at the .01 level of significance. 4. The two aspects of administrators’ digital leadership in terms of digital technology skills in administration (X1), and technology use in measurement and evaluation (X3), could predict the school effectiveness with the predictive power of 41.40 percent and the standard error of estimate of ± .56874, at the .01 level of significance. 5. The proposed guidelines for developing the administrators’ digital leadership affecting the school effectiveness consisted of two aspects: digital technology skills in administration and technology use in measurement and evaluation.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำดิจิทัล, ประสิทธิผลของโรงเรียน

Keyword

Digital Leadership, School Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093