...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2567
หน้า: 159-169
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 144
Download: 77
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารกับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
The Relationship between Administrative Behaviors and Teamwork Effectiveness of Teachers in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้แต่ง
กานดา แสนหูม, ไชยา ภาวะบุตร, ระภีพรรณ ร้อยพิลา
Author
kanda seanhoom, Chaiya Pawabutra, Rapeepan Roypira

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารกับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 339 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 51 คน ครูผู้สอน จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.89 – 0.94 มีค่าความเชื่อมั่น .975 แบบสอบถามประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.87 – 0.93 มีค่าความเชื่อมั่น .977 แบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient)  ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมการบริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. พฤติกรรมการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนขนาดของโรงเรียน พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน  4. ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. พฤติกรรมการบริหารกับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (XtYt =.799) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาพฤติกรรมการบริหาร ที่มีความสัมพันธ์ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการเป็นผู้นำ ด้านการตัดสินใจ และด้านการจูงใจ

Abstract

The purpose of this research was to examine the relationship between administrative behaviors and teamwork effectiveness of teachers in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The sample, obtained through multi-stage sampling, comprised 51 school administrators, and 288 teachers, yielding a total of 339 participants working in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom in the academic year 2022. The research instruments for data collection were questionnaires measuring school administrators’ administrative behaviors, with the discriminative power between 0.89 and 0.94 and the reliability of .975, and the teamwork effectiveness of teachers, with the discriminative power between 0.87 and 0.93 with the reliability of .977. The interview forms were also conducted to establish guidelines for developing administrative behaviors that correlated with teachers’ teamwork effectiveness. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.  The hypothesis testing was done through t - test for Independent Samples, One - Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. The findings revealed that: 1. The administrative behaviors were at a high level.  2. The teamwork effectiveness of teachers was at a high level.  3. The overall administrative behaviors, as perceived by participants with different positions and work experience, were different at the .01 level of significance. When considering each aspect, all aspects were significantly different at the .01 level, except for school sizes, which showed no differences. 4. The overall teamwork effectiveness of teachers in schools, as perceived by participants with different positions, was different at the .01 level of significance, except for work experience and school sizes, which showed no differences. 5. The administrative behaviors and the teamwork effectiveness of teachers in schools had a high level of positive relationship (XtYt =.799) at the .01 level of significance. 6. This research has proposed a set of appropriate guidelines for developing school administrators’ administrative behaviors that correlate with the teamwork effectiveness of teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom in all four aspects, comprising communication, leadership, decision -making, and motivation.

คำสำคัญ

พฤติกรรมการบริหาร, ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีม

Keyword

Administrative Behaviours, Teamwork Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093