...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2567
หน้า: 138-147
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 136
Download: 75
Download PDF
แนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Guideline For the Management of Organizational Climate to A Happy Work Place For Teachers In Schools Under Loei Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
ปฏิเวธ บัวแสงรัตนะ, ศักดินาภรณ์ นันที, สุชาติ บางวิเศษ
Author
Patiwat Buasaengrattana, Sakdinaporn Nuntee Suchart, Bangwiset

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) ศึกษาแนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครูและ 3) ประเมินแนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครู การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารบรรยากาศ องค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครู ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 11 คน ประกอบด้วย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 3 คน รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ระยะที่ 3 การประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ แนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครูในด้านความถูกต้อง (Accuracy) ความเหมาะสม (Propriety) ความเป็นไปได้ (Feasibility) และความเป็นประโยชน์ (Utility) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาเลย เขต 2 1.1) สภาพปัจจุบัน พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (\bar{x}= 4.19, S.D. = 0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความยอมรับนับถือ (\bar{x}= 4.27, S.D. = 0.67) รองลงมาคือความเอื้ออาทรต่อกัน (\bar{x}= 4.25, S.D. = 0.65) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความเติบโตทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง (\bar{x}= 4.11, S.D.=0.69) และ 1.2) สภาพที่พึงประสงค์ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.68, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือการมีขวัญและกำลังใจสูง (\bar{x}= 4.77, S.D. = 0.43) รองลงมาคือการมีโอกาสในการทำงาน (\bar{x}= 4.73, S.D. = 0.47) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ สุดคือ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือความยอมรับนับถือ (\bar{x}= 4.59, S.D. = 0.56) ตามลำดับ 2. แนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิดพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบแนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุข 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 3.1) องค์ประกอบการการมีขวัญและกำลังใจสูง 3.2) องค์ประกอบความเติบโตทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง 3.3) องค์ประกอบการปรับปรุงสถาน ศึกษา 3.4) องค์ประกอบการผนึกกำลังในการทำงาน 3.5) องค์ประกอบการมีโอกาสในการทำงาน 3.6) องค์ประกอบความไว้วางใจ 3.7) องค์ประกอบความเอื้ออาทรต่อกัน และ 3.8) องค์ประกอบความยอมรับนับถือ 4) ประเมินแนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การที่มีความสุขในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน พบว่า 4.1) ด้านความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 (\bar{x}= 4.73, S.D. = 0.43) รองลงมาได้แก่ 4.2) ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ (\bar{x}= 4.68, S.D. = 0.51) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ 4.3) ด้านความถูกต้อง (\bar{x}= 4.65, S.D. = 0.51)

Abstract

The purposes of the study were: 1) to study current condition, desired condition and needs of guideline for the management of organizational climate to a happy work place for teachers in schools under Loei primary educational service area office 2, 2) to investigate the guideline for the management of organizational climate to a happy work place for teachers in schools, and 3) to evaluate the guideline for management of organizational climate to a happy work place for teachers in schools. The study was divided into 3 phases. Phase 1 was study current condition, desired condition and needs of the management of organizational climate a happy work place for teachers in academic year 2021 using questionnaires. Statistical methods used for analysis were percentage, mean and standard deviation. Phase 2, group discussion was carried out by 3 lecturers in department of educational administration, faculty of education, Loei Rajabhat University, 1 deputy director of office of primary educational service area 2, 1 supervisor, 3 school directors, 2 teachers, and 1 school committee. Phase 3, connoisseurship experts evaluation was managed towards guideline for the management of organizational climate to a happy work place for teachers including congruity, propriety, feasibility and utility. Statistics methods used for analysis were mean and standard deviation. The results were as follows: 1. The overall of the current condition for the management guideline of organizational climate to a happy work place for teachers in schools under Loei primary educational service area office 2 was at a high level (\tilde{x}= 4.19, S.D. = 0.61). Considering each category, respectability was at a highest level (\tilde{x}= 4.27, S.D. = 0.67); followed by generosity (\tilde{x}= 4.25, S.D. = 0.65) while academic and social progress was at a lowest level (\tilde{x}= 4.11, S.D. = 0.69). The overall of the desired condition was at a highest level (\tilde{x}= 4.68, S.D. = 0.49). Considering each category, morale encouragement was at a highest level (\tilde{x}= 4.77, S.D. = 0.43); followed by working opportunity (\tilde{x}= 4.73, S.D. = 0.47) while respectability was at a lowest level (\tilde{x}= 4.59, S.D. = 0.56) 2. The guideline for the management of organizational climate to a happy work place for teachers in schools was included: 1) basic principles and concepts 2) objectives 3) 8 factors of management of organizational climate to a happy work place which were morale encouragement, academic and social progress, educational institution improvement, cooperation, working opportunity, trust, generosity, and respectability. 3) The overall of propriety towards the guideline for the management of organizational climate to a happy work place for teachers in schools was at a highest level (\tilde{x}= 4.73, S.D. = 0.43); followed by feasibility and utility (\tilde{x}= 4.68, S.D. = 0.51) whereas congruity was at a lowest level (\tilde{x}= 4.65, S.D. = 0.51).

คำสำคัญ

ความสุขในการปฏิบัติงานของครู, แนวทางการบริหารบรรยากาศองค์การ

Keyword

Happiness In the Work of Teachers, Organizational Climate Management Guidelines

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093