...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2567
หน้า: 89-99
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 185
Download: 127
Download PDF
การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Participative Administration of School Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
นัฐพล พันโน, สุมัทนา หาญสุริย์, ผกาพรรณ วะนานาม
Author
Nathapol Phanno, Sumattana Hansuri, Pakapan Wananam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 332 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 103 คน ครูผู้สอน จำนวน 229 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .488 - .836 มีค่าความเชื่อมั่นของ เท่ากับ .965 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .508 - .865 มีค่าความเชื่อมั่นของ เท่ากับ .975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test ชนิด Independent samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมอยู่ระดับมาก 3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .821 6. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงาน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 66.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.21645 7. แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มีข้อเสนอแนะไว้ 5 ด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน ด้านการไว้วางใจกัน ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and identify the relationship and the predictive power and establish guidelines for developing participative administration of school administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1, as perceived by school administrators and teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1. The sample group in this research, obtained through multi–stage sampling, consisted of 103 school administrators, and 229 teachers, yielding a total of 332 participants. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools were questionnaires and interview forms. The questionnaire on participative administration of school administrators with the discriminative power between .488 and .836, and the reliability of .965, and the questionnaire on the effectiveness of school academic affairs administration with the discriminative power between .508 and .865, and the reliability of .975. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t - test for Independence Samples, One - Way ANOVA, Pearson’s product -moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The participative administration of school administrators was overall at a high level.  2. The effectiveness of school academic affairs administration was overall at a high level.  3. The participative administration of school administrators, classified by positions and work experience, showed a significant difference at the .01 level, whereas, in terms of school sizes, there was no difference. 4. The effectiveness of school academic affairs administration, classified by positions and work experience, showed a significant difference at the .01 level, whereas, in terms of school sizes, the difference was not significant.  5. The participative administration of school administrators and the effectiveness of school academic affairs administration showed a positive relationship at the .01 level of significance with a high level and a correlation coefficient of .821. 6. The school administrators’ participative administration could predict the effectiveness of school academic affairs administration at the .01 level of significance, consisting of five aspects: participation in evaluation, setting goals and task objectives, and trust, whereas participation in decision-making and participation in benefits achieved at the .05 level of significance, with the predictive power of 66.90 percent, and the standard error of estimate of ±0.21645. The predictive equation could be written as follows: Yt′ = 1.216 + .196X7 + .143X2 + .135X1 + .118X6 + .108X5  ZYt′ = .251Z7 + .181Z2 + .172Z1 + .155Z6 + .151Z5 7. The proposed guidelines for developing school administrators’ participative administration affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1, involved five aspects: participation in the evaluation process, setting goals and objectives, trust, participation in decision - making, and participation in the benefits.

คำสำคัญ

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Participative Administration, Effectiveness of Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093