บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการจัดการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีตามกฎหมาย และการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาวิชาชีพ 2. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ ต่อการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี เรียงลำดับสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน 2) การใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน 3) การใช้เทคโนโลยีตามกฎหมาย และ 4) การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาวิชาชีพ 3. รูปแบบสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 แนวทาง การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 และส่วนที่ 3 ปัจจัยความสำเร็จ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก จากการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า โรงเรียนสามารถดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ครูสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้เชิงรุกครูมีความสามารถใช้และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ เกิดสมรรถนะดิจิทัลที่พึงประสงค์ 4. การประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี พบว่า ครูมีคุณลักษณะสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี และมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The objective of this research is to 1) Examine the digital proficiency of instructors at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School in the 21st century. 2) Study the current situation, desirable conditions, and development needs for the digital competency of teachers in the 21st century at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School. 3) Develop and experiment with the format of developing the digital competency of teachers in the 21st century Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School, Pathumthani. 4) Evaluate the development outcomes of the digital competency of teachers in the 21st century at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School, by collecting data from the school network director and schools in the educational region, school directors, deputy school directors, heads of subject groups, and teachers at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School. The tools used include questionnaires, interviews, assessments of suitability and feasibility, satisfaction assessments, characteristic assessments, data analysis by content analysis, analysis of the importance ranking of essential needs, mean values, frequencies, percentages, and standard deviations. The results of the research were as follows. 1. The digital learning management competencies of teachers in the 21st century at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School consist of four competencies: basic technology utilization, digital technology utilization in teaching and learning, legal technology utilization, and technology utilization for professional development. 2. The current state of digital learning management competencies of teachers in the 21st century at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School is generally at an intermediate level. The desired state for developing the digital learning management competencies of teachers at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School is at a high level. The order of priority for developing the competencies from highest to lowest is as follows: 1) Digital technology utilization in teaching and learning, 2) Basic technology utilization, 3) Legal technology utilization, and 4) Technology utilization for professional development. 3. The digital learning management competency framework for teachers in the 21st century at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School consists of three parts: Part 1 - Introduction, Part 2 - Development guidelines for digital learning management competencies in the 21st century, and Part 3 - Success factors. The framework is highly appropriate and feasible. Based on the experimental implementation, it was found that the school can proceed with the development process of digital learning management competencies. Teachers are able to design proactive learning management, possess the ability to use and develop technology media for learning management, and achieve the desired digital competencies. 4. The evaluation of the development of digital competency in teacher's instructional management in the 21st century at Navamintrachinutit Suankularb wittayalai Pathumthani School revealed that teachers possess digital competency in instructional management in the 21st century at Navamintrachinutit Suankularbwittayalai Pathumthani School and are satisfied with the development of digital competency in instructional management, overall, at a high level.
คำสำคัญ
สมรรถนะดิจิทัล, การพัฒนาสมรรถนะ, การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21Keyword
Digital Competence, Competency Development, Learning Management in the 21st Century of Teachersกำลังออนไลน์: 38
วันนี้: 1,316
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,515
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093