บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 366 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 108 คน และครูผู้สอน จำนวน 258 คน ในปีการศึกษา 2565 ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของบริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. การปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความยืดหยุ่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 5. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง 6. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 4 ด้าน พบว่า มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และด้านจินตนาการ ที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของครูผู้สอนโดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีจำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความยืดหยุ่น ที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของครูผู้สอนได้อย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 61 7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการยกระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอน จำนวน 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการมีความคิดที่หลากหลาย แปลกใหม่ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ร่วมทำร่วมคิดเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ มีเทคนิคในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการคิดต่อยอดสิ่งที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์ 2) ด้านความยืดหยุ่น โดยการปรับตัว รับฟังความคิดเห็นและมีวิธีการหลากหลายในการแก้ไขปัญหา สามารถรับมือกับทุกสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์ และ 3) ด้านจินตนาการ โดยมีกระบวนการคิด วาดฝัน สร้างภาพความคิดอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงความรู้จากสิ่งที่เคยทำไปสู่สิ่งแปลกใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหา มองเห็นผลลัพธ์และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ครอบคลุม
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, find out relationships, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing the creative leadership of school administrators affecting teachers' performance in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. According to opinions of school administrators and teachers classified by positions, work experiences, and school sizes. The samples used in the research, obtained through stratified random sampling, consisted of a total of 366 participants including 108 school administrators and 258 teachers in the 2022 academic year. The research instrument included Interview form and questionnaire concerning creative leadership of the school administrators with the reliability of 0.98, teachers' performance with the reliability of 0.97. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings were as follows: 1. Creative leadership of school administrators, as a whole, was at the highest level. 2. Teachers’s Performance, as a whole, was at a high level. 3. Creative Leadership of school administrators, according to the opinions of school administrators and teachers, classified by positions, work experiences and school sizes, as a whole, were not different. 4. Teachers performance, according to the opinions of school administrators and teachers, classified by positions, as a whole, were no different, as each aspect found that flexibility was significantly different at the .05 level, work experiences and school sizes, as a whole and each aspect, were not different. 5. Creative Leadership of school administrators had a positive relationship with teachers’ performance in schools at a high level with statistically significant at the .01 level. 6. Creative Leadership of school administrators was found 2 aspects, creativity and Imagination whichwere able to predict teachers’ performance in schools with statistical significance of the .01 level, and there was 1 aspect, Flexibility, was able to predict teachers’ performance in schools with statistical significance of the .05 level. The predictive power of all factors reached 61%. 7. This research proposed the guidelines for developing creative leadership of school administrators affecting the teachers' performance in schools involved three aspects, 1) Creativity with a variety of ideas, novelty, participating in expressing opinions, working together to create new things, finding techniques to solve problems systematically, and creating innovations; 2) Flexibility, by adjusting and orientation listening to opinions, having a variety of ways to solve problems with every situation creatively; and 3) Imagination, with a process of thinking, dreams, and creating images of ideas systematically, connecting knowledge from previous situation to newness, and solve the problems, and seek for the outcome and better future.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, การปฏิบัติงานของครูผู้สอนKeyword
Creative Leadership, Teacher Performanceกำลังออนไลน์: 50
วันนี้: 851
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,437
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093