...
...
เผยแพร่: 31 มี.ค. 2567
หน้า: 277-287
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 122
Download: 66
Download PDF
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Digital Leadership of Administrators Affecting Performance Effectiveness of Teachers in Schools Under Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
อะธิดา แสงอรุณ, จินดา ลาโพธิ์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา
Author
Atida Seangaroon, Jinda Lapho, RapeePan Roypila

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของครูในโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 325 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 65 คน และครูผู้สอน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก .492-.908 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .937 แบบสอบถามประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .608-.963 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .950 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร จำแนกสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน  4. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ส่วนจำแนกตามจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน 5. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (rxy=.406) 6. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร จำนวน 1 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการมีความเชี่ยวชาญ และความเป็นมืออาชีพทางดิจิทัลโดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 18.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.32887 7. การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เสนอแนะไว้ 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีความเชี่ยวชาญ และความเป็นมืออาชีพทางดิจิทัล

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and compare the relationship between the predictive power of administrators’ digital leadership affecting the performance effectiveness of teachers in schools, and establish guidelines for developing administrators’ digital leadership that affected the performance effectiveness of teachers within schools. The sample included 65 school administrators and 260 teachers working under Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office (NPM-SESAO) in the academic year 2022, yielding a total of 325 participants. Participant selection for the study involved employing stratified random sampling, based on the sample size determined using the Krejcie and Morgan table. The instruments for data collection were two sets of 5-point scale questionnaires measuring school administrators’ digital leadership with discriminative powers ranging from .492 to .908 and reliability of .937, and the performance effectiveness of teachers within schools with discriminative powers ranging from .608 to .963 and reliability of .950. as well as an interview form for administrators’ digital leadership development that affected teacher performance within schools. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean and standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrators’ digital leadership was overall at a high level. 2. The performance effectiveness of teachers in schools was overall at the highest level. 3. The administrators’ digital leadership, as perceived by participants with different positions and school sizes showed differences at the .01 level of significance. However, no significant differences were found regarding work experience. 4. The performance effectiveness of teachers in schools, as perceived by participants with different positions, was different at the .01 and .05 levels of significance, and in terms of school size and work experience, there was no difference. 5. The administrators’ digital leadership and the performance effectiveness of teachers in schools showed a positive correlation at the .01 level of significance with a moderate correlation (rxy=.406). 6. The administrators’ digital leadership in terms of digital expertise and professions could predict the performance effectiveness of teachers in schools under NPM-SESAO at the .01 level of significance with the predictive power of 18.40 percent and the standard error estimate of ±.32887. 7. Guidelines for developing administrators’ digital leadership, which affect the performance effectiveness of teachers in schools under NPM-SESAO, identified a specific aspect requiring improvement, namely digital expertise and professions. It is recommended that administrators continuously enhance their expertise in implementing digital technology across various school tasks to ensure optimal efficiency for teachers, personnel, and students. Administrators should also serve as role models by incorporating digital technology into their practices and offering training programs and academic seminars on digital technology management.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู

Keyword

Digital Leadership of Administrators, Performance Effectiveness of Teachers

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093