บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 282 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2565 จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 60 คน และครูผู้สอน จำนวน 222 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (Independent Samples t -test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's product - moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียนโดยรวม อยู่ในระดับมาก 3. การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียนที่ต่างกัน แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวม ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวม แตกต่างกัน 5. การปฏิบัติงานของครูโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียนโดยรวม อยู่ในระดับสูง (rxy = 0.745) 6. การปฏิบัติงานของครูที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ (X2) และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน (X3) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 60.10 และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ เท่ากับ ± 0.34031 7. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา มี 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายและน่าสนใจ ครูควรมีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ และควรจัดหาสื่อการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม 2) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ผู้บริหารควรมีกระจายอำนาจในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นอิสระและคล่องตัว โดยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ครูควรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูด้านดังกล่าวให้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เพื่อส่งผลให้เกิดประสิทธิผลบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลในโรงเรียนต่อไป
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing teacher performance affecting the effectiveness of academic administration in the digital era in Schools under Mukdahan The Secondary Educational Service Area Office, as perceived by administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The sample, obtained through multi-stage random sampling, comprised 282 participants, including 60 school administrators and 222 teachers working under Mukdahan The Secondary Educational Service Area Office, in the 2022 academic year. The data collection tools were sets of questionnaires on teacher performance affecting and the effectiveness of academic administration in the digital era in Schools with the reliability of 0.88 and 0.96, respectively, and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. Teacher performance in schools as a whole were at a high level. 2. Effectiveness of Academic Administration in the Digital Era in Schools as a whole was at a high level. 3. Teacher performance in schools, as perceived by participants with different positions and school sizes were differences as perceived by work experience, as a whole, was not differences. 4. Effectiveness of Academic Administration in the Digital Era in Schools, as perceived by participants with different positions, as a whole, was not differences, as perceived by school sizes, and work experience, as a whole, were different. 5. Teacher performance and Effectiveness of Academic Administration in the Digital Era in Schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (r=0.745). 6. The two aspects of Teacher performance were able to predict the Effectiveness of Academic Administration in the Digital Era in Schools at the .01 level of significance with the predictive power of 60.10 percent comprising: Learning management (x2) and Relations with parents and communities (x1), with the standard error of estimate of ±0.34031. 7. Guidelines for developing teacher performance affecting the effectiveness of academic administration in the digital era in Schools involve two aspects needing improvement: 1) Learning management. Administrators should encourage teachers to learn technology along with teaching. Learning activities should be meaningful and interesting. There should be a variety of learning management methods for learners to demonstrate their knowledge and abilities. And develop at full potential and should provide learning materials and personnel to be ready can choose to use the media and appropriate technology in learning management; 2) Relations with parents and communities. Administration should be decentralized so that educational institutions can operate freely, flexibly, quickly, in line with the needs of learners, schools, local communities, and involvement from all stakeholders. Curriculum should be developed and learning process as well as learning support factors responds to the needs of learners, communities and localities. Participation in the learning process of learners should be encouraged both at home and at school.
คำสำคัญ
การปฏิบัติงานของครู, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลKeyword
Teacher performance, Effectiveness of Academic Administration in the Digital Eraกำลังออนไลน์: 47
วันนี้: 1,059
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,258
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093