บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพพึงประสงค์ พัฒนาและประเมินกลไก และข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนความร่วมมือในการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษา Yuxi Normal University กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประชากร ได้แก่ นักศึกษาของสองสถาบันจำนวน 145 คน ส่วนอาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องของสองสถาบันมีจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบบันทึกข้อมูล และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index: PNI) ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของ Yuxi Normal University มุมมองของบุคลากร พบว่าสภาพปัจจุบันของกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของ Yuxi Normal University ภาพรวม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น รายการที่มีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น อันดับ 1 คือ การวิจัย อันดับ 2 คือ การถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี และอันดับ 3 คือ การให้บริการทางวิชาการ ส่วนมุมมองของนักศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของ Yuxi Normal University พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็น รายการที่มีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น อันดับ 1 คือ การถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี อันดับ 2 คือ การวิจัย และอันดับ 3 คือ การให้บริการทางวิชาการ 2. กลไกการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างสถาบันในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของ Yuxi Normal University แบ่งออกเป็น 2.1 กลไกระดับนโยบาย ที่มีกระบวนการตั้งแต่ 1) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 2) วาระของนโยบาย 3) การกำหนดนโยบาย (4) การรับเอานโยบายลงสู่การปฏิบัติ 5) การดำเนินนโยบาย 6) การนิเทศและติดตามนโยบาย 7) การประเมินนโยบาย 2.2 กลไกระดับปฏิบัติ ระหว่างเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุนกับหน่วยงานจัดการศึกษาหน่วยงานสนับสนุนกับหน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานจัดการศึกษากับหน่วยงานจัดการศึกษา 2.3 กลไกระดับเครือข่าย 3.1 เครือข่ายภายในหน่วยงานมหาวิทยาลัย 3.2 เครือข่ายภายนอกที่มีการจัดการศึกษาระดมอุดมศึกษา 3.3 เครือข่ายภายนอกที่กำกับดูแลหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของ Yuxi Normal University ได้แก่ 1) ด้านการเรียนการสอน 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี 4) ด้านการให้บริการทางวิชาการ 5) กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม 6) กิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ 4. ผลประเมินกลไกและข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนความร่วมมือในการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษา Yuxi Normal University กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พบว่า ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก
Abstract
This research aims to study the present condition and the desirable condition. Develop and evaluate mechanisms and policy proposals for driving cooperation in education management between higher education institutions: a case study of Yuxi Normal University and Chiang Rai Rajabhat University. There are 145 students of the two institutions, while teachers and related personnel of the two institutions total 36 people. The research instruments were interview and data recording form. The data were analyzed for frequency, percentage, mean, Standard Deviation (S.D.), content analysis and Priority Needs Index (PNI). The results showed that: 1. The current and desired circumstances of the collaboration mechanisms of inter-university educational administration at Yuxi Normal University from the faculty members’ perspectives revealed that the current circumstance of collaboration mechanisms of the inter-university educational administration, in overall, was rated at the moderate level. The desired circumstance of the collaboration mechanisms of inter-university educational administration, in overall, was rated at the highest level. It was found that the needs holding the PNI in descending ranking were 1) research; 2) technology transmission and development; and 3) academic services. The students’ perspectives revealed that the current circumstance of collaboration mechanisms of the inter-university educational administration, in overall, was rated at the moderate level. The desired circumstance of the collaboration mechanisms of inter-university educational administration, in overall, was rated at the high level. It was found that the needs holding the PNI in descending ranking were 1) technology transmission and development; 2) research; and 3) academic services. 2. The collaboration mechanisms of the inter-university educational administration of Yuxi Normal University were sectioned into 3 levels. 2.1 Policy mechanisms involved 1) needs analysis 2) policy agenda 3) policy determination 4) policy implementation 5) policy operation 6) policy supervision and monitoring 7) policy evaluation. 2.2 Operational mechanisms involved inter-university educational administration connectivity between supporting and educational administration units. 2.3 Networking mechanisms involved different parties. 1) Internal networking of units inside the university 2) External networking of inter-university collaboration 3) External networking of units controlling and supervising university curriculum 3. Policy recommendations in mobilizing the collaboration mechanisms of inter-university educational administration of Yuxi Normal University involved the following domains: 1) Instruction 2) Research 3) Technology Transmission and Development 4) Academic Services 5) Arts and Cultural Exchange 6) Other Academic-oriented Activities. 4. The results of the evaluation of mechanisms and policy proposals for driving cooperation between institutions in the management of higher education at Yuxi Normal University and Chiang Rai Rajabhat University found that the suitability and usefulness of the evaluation results are at the highest level. On the feasibility aspect, the evaluation results were at a high level.
คำสำคัญ
กลไก, ข้อเสนอเชิงนโยบาย, นโยบาย, สถาบันระดับอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, Yuxi Normal UniversityKeyword
Mechanism, Policy proposals, Policies, Higher Education Institutions, Chiang Rai Rajabhat, Yuxi Normal Universityกำลังออนไลน์: 27
วันนี้: 1,090
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,487
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093