บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดองค์กรแห่งนวัตกรรม 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษา นำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดองค์กรแห่งนวัตกรรม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการและครู จำนวน 452 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดกระบวนการบริหาร 3 ด้าน คือ การวางแผน การนำแผนสู่การปฏิบัติ และการประเมินผล และกรอบแนวคิดองค์กรแห่งนวัตกรรม 6 ด้าน คือ โครงสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม วัฒนธรรมนวัตกรรม บรรยากาศนวัตกรรม พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดองค์กรแห่งนวัตกรรม พบว่า ด้านโครงสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม มีสภาพปัจจุบันค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดองค์กรแห่งนวัตกรรม พบว่า ด้านวัฒนธรรมนวัตกรรม มีสภาพที่พึงประสงค์ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3. กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดองค์กรแห่งนวัตกรรม ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) ยกระดับโครงสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษา 2) พัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสังกัดสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 3) พลิกโฉมวัฒนธรรมนวัตกรรมของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4) ปฏิรูปบรรยากาศนวัตกรรมของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 5) ส่งเสริมพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรสังกัดสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ 6) ขับเคลื่อนความเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
Abstract
The purposes of this research were to study 1) conceptual framework related to pilot schools in education sandbox management based on the concept of innovative organization 2) the current state and desirable of pilot schools in education sandbox management strategies based on the concept of innovative organization 3) the improvement of pilot schools in education sandbox management strategies based on the concept of innovative organization. The study used a mixed method research design. The 452 informants were school directors and teachers. The statistics for the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Priority Need Index (PNImodified), and content analysis. The research results were found that: 1. The conceptual framework for the education sandbox management consists of three areas: planning; implementation; and evaluation, while the innovative organization framework consists of six areas: innovative organization structure; innovative leadership; innovative culture; innovative climate; innovative behavior; and innovative entrepreneurship.2. The current state of pilot schools in education sandbox management strategies based on the concept of innovative organization. While considering the innovative organization was ranked highest, whereas the desirable state of pilot schools in education sandbox management strategies based on the concept of innovative organization. While considering the innovative culture was ranked highest. 3. Pilot schools in education sandbox management strategies based on the concept of innovative organization consisted of 6 key strategies which were to 1) upgrade the innovative organization structure of pilot schools in education sandbox 2) develop the innovative leadership for personnel of pilot schools in education sandbox 3) transform the innovative culture of pilot schools in education sandbox 4) reform the innovative climate of pilot schools in education sandbox 5) promote the innovative behavior for personnel of pilot schools in education sandbox and 6) drive the innovative entrepreneurship of pilot schools in education sandbox.
คำสำคัญ
กลยุทธ์, การบริหารสถานศึกษา, องค์กรแห่งนวัตกรรมKeyword
Strategy, School Administration, Innovative Organizationกำลังออนไลน์: 36
วันนี้: 1,119
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,516
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093