บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรี มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา 2) ศึกษาประสิทธิผลที่เกิดจากการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลของสถานศึกษา 2) การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาครูให้เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ 2) การพัฒนาครูให้มีแบบแผนความคิด 3) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน 4) การพัฒนาครูให้มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และ 5) การพัฒนาครูให้คิดอย่างเป็นระบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 25 คน ประกอบด้วย 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 – 6 รวม 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการปฏิบัติการการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม 3) แบบสำรวจรายบุคคลของครูผู้สอน 4) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 5) การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) สถิติทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square Test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา มีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาครูให้เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ จากการประชุมชี้แจงขั้นตอนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านความเชี่ยวชาญของครู ส่งผลให้มีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (t = 2.65) 2) การพัฒนาครูให้มีแบบแผนความคิด โดยการระดมสมอง วิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (t = 18.77) 3) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน โดยร่วมศึกษาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาเพื่อกำหนดเป้าหมายที่ต้องการพัฒนา ทำให้ครูสามารถร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลได้ 4) การพัฒนาครูให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นทีม โดยนำเสนอและแลกเปลี่ยนผลการจัดการเรียนการสอนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (t = 21.79, = 91.16, S.D. = 2.56) และ 5) การพัฒนาครูให้คิดอย่างเป็นระบบ โดยร่วมกันสรุปความสำเร็จและกำหนดขั้นตอนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านลาดวิทยาเพื่อจัดทำเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาโรงเรียนต่อไป และในภาพรวมมีพัฒนาการความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มากขึ้นกว่าเดิม (t = 8.42). จาการกระบวนการพัฒนาครูให้คิดอย่างเป็นระบบส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์สูง คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมแต่ละรายวิชา ไม่ต่ำกว่า 2.5 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยในแต่ละรายวิชามีความแตกต่างกัน (F = 19.142, Sig = .003) 2) ความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก โดยการทำโครงงานคุณธรรมด้านการมีวินัย (x2 = 12.00, Sig = .285) ความซื่อสัตย์ (x2 = 18.00, Sig = .263) และมีจิตสาธารณะ (x2 = 6.00, Sig = .306) ซึ่งการเลือกทำโครงงานคุณธรรมของนักเรียนระดับชั้น ม.1 ถึง ม.6 ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกประเภททัศนคติทางบวกทุกด้าน 3) ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนพัฒนาโรงเรียน ครูสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการสอนส่งผลให้ครูได้รูปแบบการสอนตามความเชี่ยวชาญของตนเอง และ 4) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตามกระบวนการและช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนได้ ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียน ผู้บริหารต้องให้ความร่วมมือและสร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุนให้ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีส่วนในการช่วยพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนได้
Abstract
The objectives of this research, creating learning organization for developing the effectiveness of Banlat Wittaya school, Phetchaburi, were to 1) create a learning organization to develop the effectiveness of Banlat Wittaya School and 2) to study the effectiveness resulting from the creation of a learning organization at Banlat Wittaya School. There are two steps in conducting research: 1) a study of principles, concepts, and theories of creating a learning organization and effectiveness of educational institutions 2) the creation of learning organization of Banlat Wittaya School which consisted of 5 additional steps: 1) developing teachers to be knowledgeable personnel 2) developing teachers to have a conceptual model 3) building visions 4) developing teachers to learn together as a team, and 5) developing teachers to think systematically. The target group consisted of 25 teachers from 5 different departments: mathematics, science, foreign languages, Thai language, social studies, and 176 students in grades 2 - 6. The research methods used in this research were 1) the plan for the creation of the learning organization 2) participatory observation form 3) teacher individual survey 4) structured interview and 5) group discussion. The statistics used in the data analysis were mean, standard deviation, frequency, percentage, t-test, one-way ANOVA, Chi-Square Test, and content analysis. The results of the research found that 1. Creating a learning organization at Banlat Wittaya School consists of 5 steps: 1) developing teachers to be knowledgeable personnel. From the meeting explaining the process of creating a learning organization and analyzing information on teachers' expertise resulted in scores higher than the specified criteria (t = 2.65). 2) Teacher development to have a conceptual model by brainstorming. The results of teaching and learning management were analyzed with scores higher than the specified criteria (t = 18.77). 3) Building visions by participating in the study of the vision of the school to determine the goals that need to be developed. This allowed teachers to jointly define visions as a guideline for improving the effectiveness. 4) Developing teachers to learn together as a team by presenting and exchanging results of teaching and learning management with scores higher than the specified criteria (t = 21.79, = 91.16, S.D. = 2.56). 5) Development of teachers to think systematically. Together, they summarized the success and determined the process of creating a learning organization of Banlat Wittaya School to provide information for further school development. Overall, the learning organization has developed more than before (t = 8.42). 2. The process of developing teachers to think systematically affected the effectiveness of educational institutions in 4 aspects as follows: 1) the ability to produce students to achieve high results, i.e., the students had a total average learning achievement of each course not less than 2.5 above the specified threshold and each course had the differences (F = 19.142, Sig = .003). 2) The ability to develop students to have a positive attitude by doing a project on moral discipline (x2 = 12.00, Sig = .285), honesty (x2 = 18.00, Sig = .263) and having a public mind (x2 = 6.00, Sig = .306). The selection of moral projects among students in grades 1 to 6 had no relationship to the selection of positive attitudes in all aspects. 3) The ability to change school development. The teachers were able to modify the teaching styles and methods, resulting in the teachers having the teaching style according to their own expertise and 4) the ability to solve problems within the school. Teachers have exchanged knowledge in the process and help each other analyze problems that lead to a step-by-step solution. The findings from this research show that building a learning organization correlated with the improvement of school effectiveness. Executives must be cooperative and inspiring, encouraging teachers to develop instructional management process that focus on learners which can play a part in helping to improve the quality of the school.
คำสำคัญ
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้, การพัฒนาประสิทธิผลKeyword
Creating Learning Organization, Developing the Effectivenessกำลังออนไลน์: 40
วันนี้: 1,048
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,247
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093