บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 334 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 87 คน หัวหน้าบริหารงานวิชาการ จำนวน 87 คน และครูผู้สอน จำนวน 160 คน ในปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างแตกกันโดยรวม พบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน 5. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง 6. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนจำนวน 4 ด้าน คือ ด้านการสร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (X5) ด้านการสื่อสารดิจิทัล (X2) ด้านการเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล (X4) และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (X1) โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 59.80 7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการสร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 2) ด้านการสื่อสารดิจิทัล 3) ด้านการเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล และ 4) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนไว้ด้วย
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing the digital leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience. The research sample comprised 334 participants, including 87 school administrators, 87 heads of academic affairs administration, and 160 teachers in the 2021 academic year. The samples were obtained through Krejcie and Morgan’s sample size determination table, and a multi-stage random sampling. The tools included a set of questionnaires and interview forms. The questionnaires focused on school administrators’ digital leadership, measuring its reliability at 0.87, and the effectiveness of academic affairs administration, with the reliability of 0.87. Statistics for data analysis were frequency, percentage, average, and standard deviation. Analytic statistics such as t-test for Independent Samples, One - Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis were also employed. The results of the research were as follows: 1. The school administrators’ digital leadership was overall at a high level. 2. The effectiveness of academic affairs administration in schools was overall at a high level. 3. The results of comparing the overall digital leadership of school administrators, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience, indicated no differences. 4. The overall effectiveness of academic administration in schools, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience showed no differences. 5. The digital leadership of school administrators and the effectiveness of academic affairs administration in schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a moderate correlation. 6. The digital leadership of school administrators could predict the effectiveness of academic affairs administration in schools at the .01 level of significance, comprising four aspects, namely building digital networks for learning (X5), digital communication (X2), digital professionalism (X4), and digital visions (X1) with the power of prediction of 59.80 percent. 7. This research proposed guidelines for developing digital leadership of school administrators focusing on four aspects: 1) building digital networks for learning, 2) digital communication, 3) digital professionalism, and 4) digital visions affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Digital leadership of School Administrators, Academic Affairs Administrationกำลังออนไลน์: 110
วันนี้: 923
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,509
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093