บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครู 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครู 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครู 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 44 คน และครู จำนวน 321 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา รวมทั้งสิ้น 365 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ดร.ธนวัฒน์ สุขเกษม ผู้อำนวยการโรงเรียนปากช่อง รศ.ดร.ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ คณบดีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ดร.รัตติมา พานิชอนุรักษ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา นายนิรมิตร ดวดกระโทก ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญวัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครู 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาพรวม มีค่า PNImodified = 0.08 โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนห้องเรียน (PNImodified =0.14) รองลงมา คือ การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเข้าใจสถานการณ์สังคม และชุมชนได้ (PNImodified = 0.11) 2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า Teacher Development Model 4.0 (TDM 4.0) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) องค์ประกอบหลักของรูปแบบ 4) แนวทางในการประเมินผลรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ โดยองค์ประกอบหลักของรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) การปรับเปลี่ยนห้องเรียน (2) การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) การเข้าใจสถานการณ์สังคมและชุมชน (4) การปรับเปลี่ยนการสอน (5) การออกจากกรอบความคิดเดิม 3. ผลการประเมินรูปแบบในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the current and desirable conditions of teacher development 4.0 in schools under the Nakhon Ratchasima Secondary Education Service Area Office. 2) to develop a model of teacher development 4.0 in schools under the Nakhon Ratchasima Secondary Education Service Area Office; 3) to assess the model of teacher development 4.0 in schools under the Nakhon Ratchasima Secondary Education Service Area Office by using a research methodology that combines multistage methods. The tools used were interview forms and questionnaires. The sample consisted of 44 school administrators and 321 teachers, totaling 365 schools under the Nakhon Ratchasima Secondary Educational Service Area Office. The key informant was Dr. Thanawat Sukkasem, director of Pak Chong School. Assoc. Prof. Dr. Thaweesak Jindanurak, Dean of Education Sukhothai Thammathirat Open University Dr. Rattima Panich Anurak Former Director of Nakhon Ratchasima Secondary Education Service Area Office Mr. Niramit Duadkratok, Director of Boonwattana School. Analyze the data by averaging Standard Deviation, PNImodified, and Content Analysis. The results of the study revealed that: 1. The necessity of teacher development 4.0 in schools under the Secondary Educational Service Area Office had a value of PNImodified = 0.08. The importance of needs index was the most PNImodified = 0.14, followed by teachers seeking new knowledge and using ICT as and teachers understand the social situation (Capture the pulse of society) and community PNImodified = 0.11 and teachers have a teacher spirit. 2. Teacher Development 4.0 in schools under the Secondary Educational Service Area Office, named Teacher Development Model 4.0: TDM 4.0 consists of 5 components: 1) the objectives of the model. 2) the model principle, 3) the main elements of the model, 4) a guideline for evaluating the model, and 5) the success criteria for implementing the model. The main components of the model consist of 5 aspects: (1) classroom modification (2) information technology potential development (3) understanding of social and community situations (4) teaching adjustments (5) departure from the original conceptual framework The results of the assessment of teacher development model 4.0 in schools under the Office of Secondary Education Service Area Nakhon Ratchasima in terms of accuracy, suitability and overall feasibility are at a high level.
คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการพัฒนาครู 4.0, โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาKeyword
Model development, Teacher Development Model 4.0, Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Ratchasimaกำลังออนไลน์: 21
วันนี้: 817
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,403
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093