บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่น ที่ 11 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง จังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มีจำนวน 214 คน จำแนกเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 16 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 12 คน และครูผู้สอน จำนวน 186 คน ในปีการศึกษา 2565 ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 และแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูง 6. ตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 5 ด้าน พบว่า มี 2 ด้าน คือ การเป็นผู้มีบารมี และการกระตุ้นทางปัญญา ที่สามารถพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมได้อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมี จำนวน 1 ด้าน คือ การสร้างแรงบันดาลใจ ที่สามารถพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครู โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 61.20 7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร จำนวน 3 ด้านที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูไว้ด้วย
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, and predictive power, and establish guidelines for developing transformational leadership affecting achievement motivation in teacher performance in municipal primary schools under the Local Education Region 11, classified by participants’ positions, provinces of school location, and work experience. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 214 participants, including 16 directors, 12 deputy directors, and 186 teachers in the academic year 2022. The research tool comprised interview forms, and a set of questionnaires on the transformational leadership of administrators with the reliability of 0.988 and the achievement motivation in teacher performance with the reliability of 0.984. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. Transformational leadership of administrators and achievement motivation in teacher performance, as perceived by participants, were overall at the highest level. 2. Transformational leadership of administrators and achievement motivation in teacher performance, as perceived by participants’ positions were overall differences at the .01 level of significance. 3. Transformational leadership of administrators and achievement motivation in teacher performance, as perceived by participants’ provinces of school location, were overall differences at the .01 level of significance. 4. Transformational leadership of administrators and achievement motivation in teacher performance, as perceived by participants’ work experience, were overall differences at the .01 level of significance. 5. Transformational leadership of administrators and achievement motivation in teacher performance had a positive relationship at the .01 level of significance, with a high level of correlation. 6. Transformational leadership of administrators comprising two out of five aspects- prestige creation and intellectual stimulation-could predict achievement motivation in teacher performance at the .01 level of significance, and one aspect, namely inspirational motivation, was found to have a predictive effect at the .05 level of significance, accounting for 61.20 percent of the observed variation in teacher performance. 7. This research has proposed guidelines that are deemed appropriate for developing transformational leadership comprising three aspects affecting achievement motivation in teacher performance: intellectual stimulation, inspirational motivation, and prestige creation.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูKeyword
Transformational Leadership of Administrators, Achievement Motivation in Teacher Performanceกำลังออนไลน์: 119
วันนี้: 933
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,519
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093