...
...
เผยแพร่: 31 มี.ค. 2567
หน้า: 101-110
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 201
Download: 57
Download PDF
รูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธด้วยพลังภาคีเครือข่าย ของโรงเรียนกันเกราพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
The Buddhism Oriented School Management by The Strengthening the Network of Kankraowphittayakom School Under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
อนงค์ อมรรัตนเศรษฐ์
Author
Anong Amonrattanaset

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธด้วยพลังภาคีเครือข่ายของโรงเรียนกันเกราพิทยาคม 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธด้วยพลังภาคีเครือข่ายของโรงเรียนกันเกราพิทยาคม 3) ประเมินการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธด้วยพลังภาคีเครือข่ายของโรงเรียนกันเกราพิทยาคม การดำเนินการวิจัยมี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็น ประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูและบุคคลากรทางการศึกษา 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 7 คน ผู้แทนผู้ปกครองช่วงชั้น 12 คน ผู้นำชุมชน 2 คน รวมทั้งสิ้น 42 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธี Modified priority needs index ตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบและคู่มือ ตอนที่ 3 ประเมินการใช้รูปแบบและคู่มือ เครื่องมือคือ รูปแบบและคู่มือ แบบประเมินความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธด้วยพลังภาคีเครือข่ายของโรงเรียนกันเกราพิทยาคม พบว่าความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การด้านกระบวนการเสริมพลังอำนาจ รองลงมาคือด้านการสร้างภาคีเครือข่ายและด้านกระบวนการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธด้วยพลังภาคีเครือข่ายของโรงเรียนกันเกราพิทยาคมคือ สัตตะวิถีมี 5 องค์ประกอบ 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) องค์ประกอบหลัก 4) แนวทางการประเมิน 5) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำไปใช้ 3. ผลการเปรียบเทียบก่อนใช้และหลังใช้รูปแบบและคู่มือ พบว่าผลการประเมินความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธหลังใช้รูปแบบและคู่มือสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบและคู่มือ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Abstract

This research objective to 1. To study the needs, necessities in the management 2. To develop a model 3. To assess the use of the model. There are 3 parts of the research process: Part 1 Studying the needs and requirements A study of the needs and necessities. The population consisted of 1 school director, 20 teachers and  educational personnel, 7 school committees, 12 parents' representatives, 2 community leaders, a total of 42 people.  The research tool was a questionnaire, analyze data by finding the mean and find the standard deviation. Prioritize needs using Modified priority needs index method. Part 2 Development of a model and a manual. Part 3 Evaluating the use of the model and the manual. Tools were model and manual for using. Analysis of data on Buddhist schoolness assessment in an experimental model and a manual. by determining the mean (\bar{x}), Standard Deviation (S.D.) and t-test statistics. The results are as follows: 1. The needs, necessities of managing It was found that the highest demand was the process of empowermen, followed by the creation of network partners and the administrative process of Buddhist schools 2. The model called Satta Vithee Model consisted of 5 components: objectives, principle, component, assessment and success conditions  3. The results of the comparative assessment before and after using model. It was found that the evaluation results after using the model and manual were higher than before using the model and manual. Significantly at 0.01 level.

คำสำคัญ

โรงเรียนวิถีพุทธ, การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ, ภาคีเครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธ

Keyword

Buddhist way school, Pattern development, Buddhist school administration model, Network partners

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093