บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 2) ศึกษาประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ และ 4) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 320 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน และ ครู จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของปัจจัยทางการบริหาร เท่ากับ 0.970 และประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียน เท่ากับ 0.953 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก (rxy = 0.851) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาวะผู้นำ และด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ส่งผลต่อประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์โดยตัวแปรทั้ง 3 นี้ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 74.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y´ = .473 + .327X7 + .367X1 + .205X5 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z´y = .316ZX7 + .390ZX1 + .209ZX5
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the administrative factors of Kalasin Secondary Education Service Area Office, 2) to study the effectiveness of internal supervision of schools under Kalasin Secondary Education Service Area Office, 3) to study the relationship between the administrative factors and the effect of the internal supervision of schools under Kalasin Secondary Education Service Area Office, and 4) to study the administrative factors affecting the effectiveness of internal supervision in schools under Kalasin Secondary Education Service Area Office. The samples consisted of 320 school administrators and teachers under Kalasin Primary Educational Service Area Office 2, in 2021 academic year. The samples divided into 10 school administrators and 310 teachers. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire. The reliability of the questionnaire equals 0.970 and 0.953 by using Cronbach’s Alpha Coefficient. Administrative factors was 0.970 and the effectiveness of internal supervision of schools was 0.953. Data analysis used percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression. The findings revealed that 1. Administrative factors of Kalasin Secondary Education Service Area Office overall and each aspect were at the highest levels. 2. The effectiveness of the internal supervision of schools under the Kalasin Secondary Education Service Area Office overall and each aspect were at the highest levels. 3. The relationship between the administrative factors and the effectiveness of the internal supervision of schools under the Kalasin Secondary Education Service Area Office was very high positive correlation (rxy = 0.851) with statistically significant at the .01 level. 4. Administrative factors in Information Technology Leadership and Work Atmosphere & Organization culture affecting the effectiveness of the internal supervision of schools under the Kalasin Secondary Education Service Area Office. The three variables together predicted the variance of the effectiveness of the internal supervision of schools under the Kalasin Secondary Education Service Area Office. It could predict 74.00 % at the .01 level of significance. The prediction equations could be written as follow: The predicted equation of raw scores Y´ = .473 + .327X7 + .367X1 + .205X5 The Predicted equation of standard scores Z´y = .316ZX7 + .390ZX1 + .209ZX5
คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการนิเทศภายในโรงเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์Keyword
Administrative factors, effectiveness of the internal supervision of schools, Secondary Educational Service Area Office Kalasinกำลังออนไลน์: 58
วันนี้: 1,131
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,330
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093