บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) ศึกษาผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ 4) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 327 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน และได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 2 ชุด คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.971 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.ระดับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้านและอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน 3. ระดับแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ในทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงาน และด้านความสำเร็จในการทำงานร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีประสิทธิภาพพยากรณ์ ร้อยละ 51.90 และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เป็นตัวพยากรณ์ได้ดีที่สุดโดยสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ใช้คะแนนดิบ คือ Y´ =1.309 + .165X2 + .188X6 + .207X8 + .161X5 สมการพยากรณ์โดยใช้คะแนนมาตรฐาน คือ Z´y = .208ZX2 + .223ZX6 + .259ZX8 + .188ZX5
Abstract
The purposes of this research were to study 1) to study teachers' performance motivation in schools under the Office of Roi Et Secondary Education Service Area, 2) to study the performance of teachers in schools, 3) to study the relationship between job motivation and performance efficiency of school teachers, 4) to study the motivation affecting the performance of teachers in schools. Under the Roi Et Secondary Education Service Area Office. The sample group consisted of teachers in secondary schools. The number of teachers in Roi Et Secondary Education Service Area Office consisted of 327 people. The sample size was determined according to the Krejcie and Morgan tables and obtained by proportional stratification. The research instrument was a questionnaire with a 5-level rating scale consisting of 2 sets: 1) Teacher's performance motivation in school Under the Roi Et Secondary Education Service Area Office had the reliability was 0.971 and 2) teacher performance in school Under the Roi Et Secondary Education Service Area Office had the reliability was 0.970. The statistics used in this research were percentage, mean, standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression. The research results were as the follows. 1. Teachers' performance motivation Under the Roi Et Secondary Education Service Area Office Overall and each aspect was at a high level. 2. The performance of teachers in schools. Under the Roi Et Secondary Education Service Area Office Overall and each aspect was at the highest level in 2 aspects and at a high level on 1 aspect. 3. The motivation was related to the performance of the teachers in the school. Under the Roi Et Secondary Education Service Area Office In a very positive way with statistical significance at the .01 level and 4. The level of teacher performance motivation affecting teacher performance in schools. Relationship with colleagues Responsibility nature of work and success in work together to predict the variability of teacher performance in schools with forecast performance was 71.30 percent, writing statistically significant at the .01 level and and relationships with colleagues was the best predictor. The prediction equations could be written as follow: Predictive equation in raw score Y´ =1.309 + .165X2+.188X6 +.207X8 +.161X5 Predictive equation in standard score Z´y = .208ZX2 + .223ZX6 + .259ZX8 + .188ZX5
คำสำคัญ
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู, ผลการปฏิบัติงานของครู, โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดKeyword
Teacher performance motivation, The performance of teachers, Secondary schools under the district office secondary education roi etกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 970
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,367
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093