บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสตรี และครูในโรงเรียนที่มีผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 149 คน จาก 23 โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสตรีจำนวน 23 คน และครู จำนวน 126 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน เลือกตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยการหาความแปรปรวนทางเดียวโดยการทดสอบค่า F – Test (One - way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 พบว่า มีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ได้แก่ 3.1 ความยืดหยุ่น มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 3.1.1 การทำงานเป็นทีม การฝึกอบรมเป็นทีม มีการกระจายอำนาจการบริหารในองค์กรให้แก่ผู้ร่วมงาน การเปิดโอกาสให้สมาชิกในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก เพื่อหาแนวทางดำเนินงานที่สามารถนำโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.1.2 การฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษา ให้มีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีด้านความยืดหยุ่นนั้น เพื่อให้ผู้บริหารมีศักยภาพในด้านนี้ สามารถบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 3.2.1 การฝึกอบรมผู้บริหารให้มีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีด้านความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ โดยการเข้าร่วมการฝึกอบรม การปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา 3.2.2 การอบรมแบบทีม เพื่อให้สมาชิกในองค์กรมีส่วนร่วม และได้แสดงความเห็น เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงาน เพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาร่วมกันในองค์กร
Abstract
The objective of this research was to study the Creative Leadership of School Female Administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1. classified by working experiences of the teachers. and the guidelines for the development of Creative Leadership of School Female Administrators. Sampling groups of this research were 23 Female Administrators and 126 teachers of School Female Administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 2. the researcher chose 9 major informants. The instrument was a 5 rating scale questionnaire and the interview was used to collect the complete details of information. Therefore, purposive sampling was used. the statistics used in this research were Mean, Standard Deviation, (S.D.) and One-way ANOVA The results of this research found that; 1. Creative Leadership of School Female Administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 was overall and in each Individual aspect at a high level 2. The comparison of Creative Leadership of School Female Administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 classified by teaching experiences was the difference is statistically significant at the .05 3. The guidelines for the development of Creative Leadership of School Female Administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1. the following: 3.1 Flexibility There are development guidelines as follows: 3.1.1 Team work there is a decentralized administration in the organization to the co-workers. Providing opportunities for school members to participate in activities by listening to members' opinions. to find ways to operate that can lead the school to achieve its goals. 3.1.2 Team training for members of the organization to participate and have commented to develop common problem-solving skills So that all members have the opportunity to develop problem solving skills and apply the knowledge gained to operations. as a basis for solving problems together in the organization. 3.2 Problem Solving Ability There are development guidelines as follows: 3.2.1 Training of executives to have creative leadership of school female administrators problem-solving ability is a workshop in order to apply knowledge in school administration executives need to develop potential. by participating in the training operations related to the development of problem-solving abilities. 3.2.2 Team training for members of the organization to participate and have commented to develop common problem-solving skills So that all members have the opportunity to develop problem-solving skills and apply the knowledge gained to operations. as a basis for solving problems together in the organization.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษาสตรีKeyword
Creative Leadership, School Female Administratorsกำลังออนไลน์: 17
วันนี้: 1,019
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,218
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093