...
...
เผยแพร่: 31 มี.ค. 2567
หน้า: 1-10
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 307
Download: 136
Download PDF
แนวทางการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศ สังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Administrative Guidelines Towards A High Performance of Early Childhood Schools Under Subdistrict Municipality, Muang District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง
พิธิวัตร์ เทวาพิทักษ์, จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์
Author
Pitiwat Tawapituk, Chakparun Wichaakkharawit

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศ สังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาของการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์โรงเรียนรางวัลพระราชทาน โดยศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1 จากกลุ่มประชากรผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัยและผู้ดูแลเด็กปฐมวัย สังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 131 คน และศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2 จากผู้บริหารโรงเรียนและครูปฐมวัยจากสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียน พระราชทานระดับก่อนประถมศึกษาปี 2563 จำนวน 3 สถานศึกษา เลือกวิธีการสุ่มโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน จากจำนวนประชากร 45 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหาคุณภาพเครื่องมือแบบสอบถามโดยค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 และความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .995 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กปฐมวัยเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา ด้านคุณภาพเด็กปฐมวัย และด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ตามลำดับ ส่วนสภาพปัญหาของการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา และด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ถัดมาคือ ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กปฐมวัยเป็นสำคัญ และด้านคุณภาพเด็กปฐมวัย ตามลำดับ 2. สำหรับแนวทางการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศ ตามเกณฑ์โรงเรียนรางวัลพระราชทาน พบว่า มีแนวทางการบริหาร ดังนี้ 2.1 ด้านคุณภาพเด็กปฐมวัย ควรให้ความสำคัญพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเน้นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ Active Learning กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเสริมสร้างทักษะชีวิตตามวิถีทางธรรมชาติ เน้นเรียนรู้หลากหลายภาษา เรียนรู้ทักษะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2.2 ด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ควรวิเคราะห์ปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนา กำกับติดตาม ประเมินหลักสูตร 2.3 ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา ควรบริหารโดยเน้นเด็กปฐมวัยเป็นสำคัญ ดำเนินการตามวิสัยทัศน์ มีความยืดหยุ่น ไม่ยึดติดวัฒนธรรมเดิม รู้จักพลิกแพลงสถานการณ์ บริหารก้าวทันเทคโนโลยี ใช้หลักกระจายอำนาจ ขับเคลื่อนด้วยวงจรคุณภาพ PDCA ใช้หลักประชาธิปไตยผสมผสานเผด็จการ สร้างวัฒนธรรมองค์กรและนวัตกรรม 2.4 ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กปฐมวัยเป็นสำคัญ ควรวิเคราะห์เด็กปฐมวัยรายบุคคลนำปัญหาที่พบมาเป็นกรณีศึกษา วิเคราะห์ตัวชี้วัด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัย พัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลตามตัวชี้วัด มาตรฐานปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

Abstract

The objectives of this research were to study the current conditions and problems of the administration of early childhood schools in the sub-district municipality, Muang District, Chiang Mai Province, and to develop administrative guidelines for early high-performing childhood schools based on the Royal Award School standard. By studying objective 1; The population was 131 people of educational administrators, school administrators, early childhood teachers and early childhood caregivers under Childhood Schools in the Sub-district Municipality, Muang District, Chiang Mai Province. And By studying objective 2; The sample was 12 people from a population of 45 people of school administrators and early childhood teachers from 3 schools that received the Royal School Award for the pre-primary level in 2020. A non-probabilistic random sampling method was used. (Nonprobability sampling) by purposive selection method. Data were collected from questionnaires, and interviews. Quantitative data were analyzed with percentage, population mean and standard deviation statistics. Find questionnaire quality with Index of Item – Objective Congruence (IOC) equal to 1.00 Confidence was obtained by Cronbach's alpha coefficient method equal to .995. The qualitative data were analyzed by content analysis. The research findings were as follows: 1. The current conditions of the administration were overall good. Considering every factor, it was ordered from highest to lowest as follows: “The organization of learning experience mainly focuses on early childhood”, “The administration and management of education”, “The early childhood's quality”, and “The curriculum and academic administration”, respectively. For the problems of the administration, they were overall at the lowest levels. Considering every factor, it was ordered from highest to lowest as follows: “The administration and management of education” and “The curriculum and academic administration”, “The organization of learning experience mainly focuses on early childhood” and “The early childhood's quality”, respectively.  2. Concerning the guidelines for high performance in early childhood schools based on the Royal Award School criteria, 2.1 In terms of the quality of students, they were: Focus on early childhood development in namely physical, emotional, social, and intellectual. Promote integrated activities Focus on active learning activities, and support sufficiency economy activities and the “Home for Young Scientists” project. Strengthen life skills and natural cultural focus on learning a variety of languages. sustain technological preparation and computer skills. 2.2 In terms of curriculum and academic administration, the guidelines were: Continually analyze and improve the curriculum based on the situation. Allow stakeholders to involve in curriculum development, supervision, monitoring, and evaluation. 2.3 In terms of educational administration and management, the guidelines were:  Administer education with a focus on early childhood. Implement a vision, be flexible without embracing the same culture, Turn a crisis into an opportunity and succeed in keeping pace with digital technology. Apply the decentralization principle and the PDCA quality cycle to steer operations. Manage with democracy and mixed dictatorship. Build an organizational culture with clear goals. And innovate in schools. 2.4 For the provision of a child-centered learning experience, the guidelines were: Analyze individual learners. When encountering problems, incorporate them into a case study, analyze indicators, and consult with experts (supervisors or university instructors). Assessment measurement tools were to be developed per standard early childhood indicators to cover the four aspects. Establish a learning community.

คำสำคัญ

แนวทางการบริหารสถานศึกษา, สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย, การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

Keyword

Administrative Guidelines, Early Childhood School, School Administrative to High Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093