บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัลและรูปแบบการพัฒนาบุคลากร 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัลของนักวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัลของนักวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-phrases mixed methods research) รวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยประชากร คือ นักวิชาการสถิติ ที่สังกัดสำนักงานสถิติแห่งชาติ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ 4 คน ยืนยันร่างรูปแบบรายบุคคล 15 คน สนทนากลุ่ม 12 คน ประเมินรูปแบบ 40 คน การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1. ความฉลาดรู้ดิจิทัล ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) ความรู้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) การสร้างสรรค์ 3) การเข้าถึง 4) การเข้าใจ 5) การวิเคราะห์และประเมินผล 6) การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล และ 7) การบริหารจัดการข้อมูลด้วยหลักธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ผลจากการศึกษาระดับความฉลาดรู้ดิจิทัลของนักวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยภาพรวม พบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากและมีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.18 ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านการสร้างสรรค์ และด้านการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล 2. รูปแบบการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัลของนักวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลจากการวิจัยชื่อรูปแบบว่า “รูปแบบการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัลของนักวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ด้วยรูปแบบการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ” โดยวิธีการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัลออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1) การฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ (Systematic training program) 2) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self development) และ 3) การเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from others) ซึ่งผู้วิจัยตั้งชื่อรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษว่า SSO-CDL Model (S: Systematic training program, S: Self development, O : Learning from others, C : Create, DL : Data linking Model)
Abstract
The purposes of this research were to 1) study the conceptual framework of digital literacy and the development model of digital literacy of statisticians under the National Statistical Office 2) to study the current and desirable conditions for developing digital literacy of statisticians of the National Statistical Office 3) to create a model for developing digital literacy of statisticians of the National Statistical Office. It is a Multi-phases mixed methods research. Data were collected both quantitative and qualitative methods. The population were statisticians under the National Statistical Office. The key informants were 4 experts by interviewing with quantitative research and 338 samples with the quantitative research. The research instruments were questionnaires and interview. Statistics used as a descriptive were content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation and priority needs index. The finding results were as follows. 1. Digital literacy with 7 elements: 1) Fundamentals of using digital technology 2) Create 3) Access 4) Understand 5) Analysis and evaluate 6) Data linking and exchange and 7) Data governance. The results of the study found that the present condition in overall was in a moderate level while the desirable condition in overall was in a high level. The mean score of the desirable condition was 0.18. The needs and desirable aspects that needed to be developed most were create and data linking and exchange. 2. Digital literacy Development Model for statistical of the National statistical Office with a Systematic training program model. The development model of digital literacy were three types namely: 1) Systematic training program 2) Self development and 3) Learning from others. The researcher named the model in English as the SSO-CDL Model (S: Systematic learning, S: Self development, O: Learning from others, C: Create, DL: Data linking Model).
คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัล, ความฉลาดรู้ดิจิทัลของนักวิชาการสถิติKeyword
Digital literacy development model, Digital literacy of Statisticianกำลังออนไลน์: 13
วันนี้: 1,014
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,213
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093