บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม 2) ศึกษาสภาพสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรมและ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 306 โรง โดยทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาหรือผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทำงานในโรงเรียน อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งหมด 918 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จากค่าดัชนีความต้องการจำเป็น วิเคราะห์โอกาสและภาวะคุกคาม และกำหนดกลยุทธ์โดยใช้รูปแบบของ SWOT Matrix และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม มีองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม จำนวน 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม องค์ประกอบที่ 2 การจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรม องค์ประกอบที่ 3 การเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ องค์ประกอบที่ 4 การวัดความสามารถขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม และองค์ประกอบที่ 5 การให้รางวัลผู้สร้างนวัตกรรม 2. สภาพความต้องการจำเป็นการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม จากสภาพแวดล้อมภายใน สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพความต้องการจำเป็นการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมาตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม จากสภาพแวดล้อมภายนอก สภาพสภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรมจากผลการวิจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็ง (Strength) 3 ด้าน คือ 1) การวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม 2) การเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม 3) การให้รางวัลผู้สร้างนวัตกรรม มีจุดอ่อน (Weakness) 2 ด้าน คือ 1) การจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรม 2) การวัดความสามารถขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม และจากผลการวิจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า เป็นโอกาส (Opportunity) ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) สภาพสภาพสังคม 2) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3) สภาพเศรษฐกิจ 4) นโยบายด้านการศึกษา 4. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) การวางแผนกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อสร้างนวัตกรรม มี 3 กลยุทธ์รอง และ 7 แนวทางปฏิบัติ 2) การพัฒนาการสร้างนวัตกรรม มี 2 กลยุทธ์รอง และ 7 แนวทางปฏิบัติ 3) การเชิดชูวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม มี 3 กลยุทธ์รอง และ 12 แนวทางปฏิบัติ 4) การพัฒนาขีดสมรรถนะขององค์กรในการสร้างนวัตกรรมมี 3 กลยุทธ์รอง และ 7 แนวทางปฏิบัติ 5. ผลการประเมินด้านความเหมาะสม (Propriety) และด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ตามกรอบแนวคิดระบบบริหารนวัตกรรม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) และด้านความเป็นประโยชน์ (Utility) พบว่า มีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the theoretical framework of primary school administration according to the concept of innovation management system, 2) to study the current condition and desirable conditions of primary school administration in Nakhon Ratchasima Province according to the concept of innovation management system, 3) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities and threats of primary school administration in Nakhon Ratchasima Province, 4) to develop a strategy for primary school management in Nakhon Ratchasima Province according to the concept of innovation management system. The samples were 306 primary school under the Office of Primary Educational Service Area in Nakhon Ratchasima Province by a stratified random sampling. The 918 informants were the primary school directors or the acting representative of the primary school directors, head of academic department and teachers with at least 1 academic year experience working in schools. The statistics used in the data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation and analyze strengths and weaknesses from the required priority needs index value. Analyze opportunities and threats by determine strategies using the SWOT Matrix model and assess the propriety, feasibility and the utility of strategies from experts. The research found that. 1. Theoretical conceptual framework for primary school administration based on the innovation management system conceptual framework. There are 5 elements of primary school administration according to the concept of innovation management system: Component 1: Strategic Planning for Innovation Component 2 Organizing the Innovation Process Component 3 Enhancing creative culture Component 4: Measuring an organization's ability to innovate and Component 5: Awarding innovators. 2. Conditions of necessity for primary school administration in Nakhon Ratchasima Province according to the concept of innovation management system from the internal environment, the overall current condition was at a moderate level. The desirable condition in overall, it was at a high level and the condition of needs for primary school administration in Nakhon Ratchasima Province. According to the concept of innovation management system from the external environment current condition in overall, it was at a moderate level and the condition of desirable. In overall, was at a high level. 3. Primary School Administration in Nakhon Ratchasima Province according to the concept of innovation management system from research results of internal environment, it was found that there were 3 strengths: 1) strategic planning for innovation 2) fostering a creative culture in creating innovation 3) rewarding innovators. There were two weaknesses: 1) organizing the innovation process 2) measuring the organization's ability to create innovation. And from the research results of the external environment, it was found that there were opportunities in all four aspects, namely 1) social conditions 2) technological advancement 3) economic conditions 4) educational policies. 4. Primary School Management Strategies in Nakhon Ratchasima Province according to the innovation management system conceptual framework, there were 4 main strategies: 1) proactive strategy planning for innovation with 3 sub strategies and 7 guidelines; 2) developing innovations with 2 sub strategies and 7 guidelines; 3) glorifying creative culture in innovation with 3 sub strategies and 12 guidelines. 4) developing the capacity of the organization in creating innovation with 3 sub strategies and 7 guidelines. 5. Assessment results of propriety and feasibility of primary school administration strategies in Nakhon Ratchasima Province according to the concept of innovation management system, it was found that it was appropriate at the highest level and feasibility is likely to be at the highest level. The results of the feasibility assessment and the utility, it was found that it was feasible at the highest level and the utility was at.
คำสำคัญ
กลยุทธ์, การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา, ระบบบริหารนวัตกรรมKeyword
Strategy, Administrative of Primary School, Innovation Management Systemกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 380
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,665
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093