...
...
เผยแพร่: 21 ธ.ค. 2566
หน้า: 248-258
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 153
Download: 204
Download PDF
ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล
The Priority Needs of Developing Secondary School Management of Chonburi Area 1 Consortium Schools Based on The Concept of Global Mindedness
ผู้แต่ง
ธัมมธาดา อู่วิเชียร, นันทรัตน์ เจริญกุล
Author
Thammatada Ouwichian, Nantarat Charoenkul

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 11 คน รองผู้อำนวยการ 33 คน และครู 277 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 321 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของตัวอย่างด้วยวิธีการของ Krejcie and Morgan (1970) ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) สำหรับผู้บริหาร และการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) สำหรับครูเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.447 – 0.809 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากลอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.803) และมากที่สุด (\bar{x} = 4.568) ตามลำดับ 2. ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากลมีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.230) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNImodified = 0.205) การวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.188) และงานกิจกรรมนักเรียน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร (PNImodified = 0.182) ตามลำดับ

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the current and the desirable states of developing secondary school management of Chonburi area 1 consortium schools based on the concept of global mindedness 2) to study the priority needs of developing secondary school management of Chonburi area 1 consortium schools based on the concept of global mindedness. The population were Chonburi area 1 consortium secondary schools. The research informants consisted of 11 school directors, 33 deputy directors and 277 teachers, 321 informants in total, with reference to the sample size defined by Krejcie and Morgan (1970). A purposive sampling method was used for selecting school directors, while stratified random sampling was used for teacher informants. The research instrument was a rating-scaled questionnaire of which the power of discrimination fell between 0.447 - 0.809 and reliability was 0.987. The research instrument used in this study was a rating scaled questionnaire. The data ware analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index (PNIModified). The research results turned out as follows. 1. The current and the desirable states of developing secondary school management of Chonburi area 1 consortium schools based on the concept of global mindedness were at the high level (Mean = 3.803) and the highest level (\bar{x}= 4.568) respectively. 2. The priority needs of secondary school management of Chonburi area 1 consortium schools based on the concept of global mindedness were ranked respectively as follows: 1) For measurement and evaluation (PNIModified = 0.230); 2) For developing students’ learning process (PNIModified = 0.205); 3) For curriculum development (PNIModtied = 0.188); 4) For student’s activities or extracurricular activities (PNIModtied = 0.182)

คำสำคัญ

ความต้องการจำเป็น, การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา, จิตสำนึกสากล

Keyword

Priority Needs, Secondary School Management, Global Mindedness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093