บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 339 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน ครูผู้สอน จำนวน 269 คน จากจำนวน 70 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.48 - 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Sample การทดสอบค่าเอฟ (F-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอำนาจพยากรณ์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ทางวิชาการ ด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย 6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอำนาจพยากรณ์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน เสนอแนะไว้จำนวน 4 ด้าน ที่ คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ทางวิชาการ และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
Abstract
The purposes of this correlational research were to study, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish the guidelines for The Academic Leadership of administrators affecting Professional Learning Community of schools under Sakon Nakhon primary educational service area office 1 in accordance with the perception of administrators and teachers categorized by positions, school of sizes, and work experiences. The sample group, The sample size was determined using the Craigie table and Morgan and the Multi-Stage Random Sampling, yielded a total of 339 participants consisting of 70 administrators and 269 teachers from 70 schools in the 2022 academic year. The tool for data collection was a set of questionnaires with the discrimination ranging between 0.48 - 0.91, 0.97 reliability, and structured interview from. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t-test, One Way ANOVA F-test, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, Stepwise Multiple Regression analysis. The findings were as follows: 1. The Academic Leadership of administrators and the Professional Learning Community of schools were at a high level. 2. The Academic Leadership of administrators, As perceived by participants revealed than in terms of positions, school administrative factors was different at the .01 level of significance overall; there was different at the .05 level of significance overall; and In terms of work experience; there was no different. 3. Professional Learning Community of schools, 1) as perceived by participants revealed than in terms of positions, school administrative factors was different at the .01 level of significance overall; 2) In terms of school sizes, there was different at the .01 level of significance overall; and 3 In terms of work experience; there was no different. 4. There was a statistically significant positive relationship between the academic leadership of school administrators and the professional learning community at the level of .01 with high correlation. 5. Academic leadership of school administrators with power to predict professional learning communities of schools was statistically significant at the level of .01 is promoting academic learning atmosphere, curriculum administration and teaching and learning, supervision, monitoring and evaluation of teaching and learning and vision, mission and the goal. 6. The guidelines for developing the Academic Leadership of Administrators affecting Professional Learning Community of Schools involved four aspects Academic learning atmosphere, Curriculum administration and teaching and learning, Supervision, Monitoring and evaluation of teaching and learning and vision, Mission and the goal.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพKeyword
The Academic Leadership of Administrators, Professional Learning Community of Schoolsกำลังออนไลน์: 46
วันนี้: 1,065
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,264
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093