บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางปรับระดับปัจจัยความเครียดของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 109 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเพศชาย จำนวน 71 คน และผู้บริหารสถานศึกษาเพศหญิง จำนวน 38 คน จากโรงเรียน 109 โรงเรียน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับสถานภาพและข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยความเครียดของผู้บริหาร มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.53-0.91 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหาร มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.46-0.92 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test ชนิด Independent Samples) การทดสอบเอฟ (F-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศของผู้บริหาร ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน 4. สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศของผู้บริหาร ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน 5. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม (X) กับสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม (Y) มีความสัมพันธ์กัน อยู่ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ของบุคคลในหน่วยงาน 7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางปรับระดับปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งมี 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ของบุคคลในหน่วยงาน ให้มีความเหมาะสม
Abstract
The purposes of this research were to study, compare, find correlation, find predictive ability, and approaches to adjust the level of stress factors of executives that affect administrative competence of school administrators Under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area According to the opinion of the administrators The sample group used in the research were school administrators under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office, Region 1. There were 109 people, consisting of 71 male school administrators and 38 female school administrators from 109 schools. The random sampling method used multi-stage random sampling. as a questionnaire which is divided into 3 parts: part 1 is a questionnaire about status and general information, part 2 is a questionnaire on stress factors of executives. There was a 5-level estimating scale with a discriminating power between 0.91-0.53 and a confidence value of 0.98. Part 3 was a questionnaire about executive performance of executives with a 5-level estimating scale with a discriminating power. were between 0.46-0.92 and had a confidence value of 0.99. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation, t-test (Independent Samples), F -test. Pearson's simple correlation coefficient. and regression analysis Multiply each step. The findings were as follows: 1. Administrative stress factors are generally at a medium level. 2. The total administrative competency of school administrators was at the highest level. 3. The stress factors of school administrators are classified by gender; the school scale and operational experience found that overall, there was no difference. 4. Administrative competence of school administrators Classified by gender of administrators, school size, and work experience, it was found that overall, there was no difference. 5. The stress factor of overall school administrators (X) and the administrative competency of school administrators as a whole were related. was at a low level, with statistical significance at the.01 level. 6. The stress factor of school administrators was analyzed in five aspects, and it was found that there were two aspects that could predict the administrative competency of school administrators with statistical significance at the.01 level, namely the environment and the relationships of people in the organization. 7. This research presents a method to adjust the level of stress factors in administering educational institutions in two areas: the environment and the relationships of people in the organization.
คำสำคัญ
ปัจจัยความเครียด, สมรรถนะทางการบริหารKeyword
Stress Factor, Administrative Competenceกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 257
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,542
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093