...
...
เผยแพร่: 21 ธ.ค. 2566
หน้า: 215-225
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 151
Download: 212
Download PDF
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครพนม
Need Assessment and Guidelines for Developing Effectiveness of Academic Affairs Administration of the General Buddhist Scripture Schools under the General Education Division in Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง
สนใจ โกษาแสง, ธวัชชัย ไพใหล, ระภีพรรณ ร้อยพิลา
Author
Sonjai Kosasang, Tawatchai Pailai, Rapeepan Roypila

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูพระ และครูฆราวาส ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 96 รูป/คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบเอฟ F-test (One Way ANOVA) และการคำนวณระดับความต้องการจำเป็นใช้วิธี Modified Priority Need Index (PNImodified) โดยใช้สูตร PNImodified = (I-D)/D ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูพระ และครูฆราวาส โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. สภาพปัจจุบันของประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูพระ และครูฆราวาส จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. สภาพที่พึงประสงค์ของประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูพระ และครูฆราวาส จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 4. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูพระ และครูฆราวาสที่มีความต้องการจำเป็นอันดับ 1 คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว หน่วยงานสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 5. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครพนมด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษามีแนวทางการพัฒนาโดยการกำหนดนโยบายให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน จัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยระดับโรงเรียน จัดกิจกรรมที่เป็นการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการวิจัยของครู และจัดทำฐานข้อมูลผู้เรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้านการนิเทศการศึกษามีแนวทางการพัฒนาโดยการกำหนดนโยบายด้านการนิเทศการศึกษา จัดทำแผนการนิเทศและปฏิทินการนิเทศและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ขึ้นในโรงเรียน และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว หน่วยงานสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา มีแนวทางการพัฒนาโดยการกำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ จัดทำฐานข้อมูลด้านงานวิชาการ จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านข้อมูลงานวิชาการที่ชัดเจน และมีการกำกับ ตรวจสอบ ข้อมูลด้านงานวิชาการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

Abstract

The objectives of this research were to examine, compare and establish guidelines for developing the effectiveness of academic affairs administration of General Buddhist Scripture Schools under the General Education Division in Nakhon Phanom Province, as perceived by participants. The samples, selected through purposive sampling, consisted of school administrators, monk teachers, and lay teachers working at General Buddhist Scripture Schools under the General Education Department in Nakhon Phanom Province in the academic year 2022, yielding a total of 96 participants. Data was collected through a set of questionnaires, and interview forms. The statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation. Hypotheses were tested using One-Way ANOVA, and the Modified Priority Need Index (PNImodified) method using the formula PNImodified = (I - D)/D. The findings were as follows: 1. The current and desirable conditions of the effectiveness of academic affairs administration, as perceived by participants, were overall at a high level. 2. The current conditions of the overall effectiveness of academic affairs administration as perceived by participants with different positions, showed differences at the .01 level of significance, but there were no differences in terms of educational levels and work experience. 3. The desirable conditions of the overall effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants with different positions, education levels, and work experience, showed no differences. 4. The perceived need for developing the effectiveness of academic affairs administration was assessed and ranked according to priority: conducting research studies to improve the quality of education in schools, providing educational supervision, and promoting and supporting academic services for individuals, families, organizations, workplaces, and other educational institutions, 5. Guidelines for developing the effectiveness of the academic affairs administration at General Buddhist Scripture Schools under the General Education Department in Nakhon Phanom Province comprised conducting research studies to improve the quality of education in schools by setting policies for teachers to conduct research in the classroom, creating a research database at the school level, organizing activities that enhance teachers' knowledge and research skills, and establishing a database of learners with learning difficulties. In terms of educational supervision, schools should establish educational supervision, supervision plans and calendars, and professional learning communities (PLCs) in schools. To facilitate academic affairs for individuals, families, organizations, workplaces, and other educational institutions, the formulation of policies should be implemented. This involves creating a comprehensive academic affairs database, appointing responsible individuals for academic affairs, and conducting systematic and continuous monitoring, and examination of academic affairs.

คำสำคัญ

ความต้องการจำเป็น, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Need Assessment, Effectiveness of Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093