บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 33 คน และหัวหน้าฝ่ายของโรงเรียน จำนวน 132 คน รวมทั้งหมด 165 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาด้วยวิธี Face validity และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.991 วิเคราะห์สภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ควรจะเป็นโดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่า PNI modified ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.26, S.D. = 0.62) และสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.68) 2. ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีค่า PNI modified อยู่ระหว่าง 0.36-0.39 โดยพื้นที่การเรียนรู้และสภาพแวดล้อม และการเรียนรู้และความก้าวหน้าทางวิชาชีพ มีค่า PNI modified สูงที่สุด (PNI modified = 0.39) รองลงมาคือ การสื่อสาร (PNI modified = 0.37)การประชาสัมพันธ์ การสร้างภาพลักษณ์ และการโอกาส (PNI modified = 0.36) ตามลำดับ
Abstract
The purposes of this research were 1) to explore problems and needs of the Digital Leadership for School Administrators of Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization (the Digital Leadership for School Administrators of Korat PAO), and 2) to study the needs assessment of the Digital Leadership for School Administrators of Korat PAO. The sample group was 33 school Administrators and 132 heads of departments, 165 people in total. The tool was a 5-level Likert’s Scale. The tool quality was assessed by 5 experts to verify content validity by face validity method. Reliability by finding the alpha coefficient of the whole questionnaire according to Cronbach's method was 0.991. The statistics used were frequency, mean, standard deviation, Priority Index Value of Essential Needs (PNI modified) Step. The findings were as follows: 1. the overall of problems of the Digital Leadership for School Administrator of Korat PAO was at the moderate level ( = 3.26, S.D.= 0.62), the overall of needs of the Digital Leadership for School Administrators of Korat PAO was at the high level ( =4.47, S.D.=0.68). 2. the PNI modified values of needs assessment of the Digital Leadership for School Administrators of Korat PAO were between 0.36-0.39: the highest PNI values were Learning Spaces and Development, and Personal Learning and Growth (PNI modified = 0.39); then Communication (PNI modified = 0.37); and Public Relations, Branding, and Discovering Opportunity (PNI modified = 0.36) respectively.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความต้องการจำเป็น, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาKeyword
Digital Leadership, School Administrator, Needs Assessment, Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organizationกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 307
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,592
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093