บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการคนเก่งในสังกัด 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการคนเก่งกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูทั้งหมด 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’ Correlation) ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารจัดการคนเก่งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้านเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการรักษาคนเก่ง รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพคนเก่ง ด้านการประเมินประสิทธิผลและให้รางวัลคนเก่ง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสรรหาและคัดเลือกคนเก่ง ตามลำดับ 2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 3. ผลการศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการคนเก่งกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์ระหว่าง 0.666 – 0.786 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในแต่ละด้านพบว่า การบริหารจัดการคนเก่งที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านการรักษาคนเก่ง (X4) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน (Y) อยู่ในระดับมาก (r = 0.786) รองลงมาคือด้านการประเมินประสิทธิผลและให้รางวัลคนเก่ง (X3) อยู่ในระดับมาก (r = 0.752) และองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่ำที่สุด คือ ด้านการสรรหาและคัดเลือกคนเก่ง (X1) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน (Y) อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.666)
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the effectiveness of schools, 2) to study the management of talents under the jurisdiction, and 3) to study the relationship between talent management and the effectiveness of schools under Nong Khai Primary Educational Service Area Office 1. The sample group consisted of 302 school administrators and teachers. The instrument used for data collection was a questionnaire. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation. and Pearson's Correlation Coefficient Test. Research finding were as follows: 1. Overview of the talents management of school administrators, indicated a high level. When compared to each other, the highest mean was talent retention, following by talent development and evaluating effectiveness and rewarding talents and the lowest were recruiting and selecting talent. 2. Overview of the effectiveness of the school indicated a high level. When compared to each other, the highest mean was the teacher's job satisfaction, following by the participation of parents, and community, Leadership of school administrator, learning management and the lowest was the quality of the learners. which had a high level of performance. 3. The results of the study on the level of relationship between talent management and the effectiveness of schools under Nong Khai Primary Educational Service Area Office 1, It was found that all components were a statistically significant positive correlation at the .05 level with a correlation between 0.666 – 0.786. When compared the correlation coefficient in each aspect, the highest correlation with talent management was talent retention (X4), following by effectiveness evaluation and reward. Which correlated with school effectiveness in a high level. (Y) (r = 0.786). Talent (X3) was at a high level (r = 0.752), and the lowest correlated component was talent recruitment and selection (X1), which correlated with school effectiveness in a moderate level (Y) (r = 0.666)
คำสำคัญ
การบริหารจัดการคนเก่ง, ประสิทธิผลของโรงเรียนKeyword
Talent Management, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 1,007
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,404
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093